แนะรัฐเพิ่มเงินอุดหนุนเด็กยากจน

ประเมินผลนักเรียน - ครูระยอง

Print Friendly

ดร.ตรีนุช ไพชยนต์วิจิตร นักวิชาการสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ ทีดีอาร์ไอ เปิดเผยว่า ปัจจุบันประเทศไทยใช้ทรัพยากรจำนวนมหาศาลในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศ โดยในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา ไทยทุ่มงบประมาณด้านการศึกษาถึง 4.2 แสนล้านบาท แต่กลับไม่ได้คุณภาพการศึกษาที่ดีขึ้น เห็นได้จากผลสะท้อนของการทดสอบระดับนานาชาติ เช่น โครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ หรือ พิซ่า และผลการศึกษาแนวโน้มการจัดการศึกษาคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ระดับนานาชาติ หรือ ทิมส์ ที่พบว่า ผลการเรียนของเด็กไทยในวิชาคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ มีพัฒนาการต่ำลงอย่างต่อเนื่อง จึงอนุมานได้ว่าปัญหาคุณภาพการศึกษาของไทยไม่ได้อยู่ที่การขาดแคลนงบฯ แต่อยู่ที่ความด้อยประสิทธิภาพของการใช้ทรัพยากรมากกว่า

“ เมื่อพิจารณาในภาพรวม พบว่า เด็กไทยยังอ่อนใน 3 วิชาหลัก ได้แก่ ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ถึงแม้ว่าเด็กไทยจะใช้เวลาเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนถึง 6 ชั่วโมงครึ่งต่อสัปดาห์ ซึ่งมากกว่านักเรียนในประเทศเกาหลีใต้ แต่ผลการสอบระดับนานาชาติเด็กไทยกลับได้คะแนนต่ำกว่า ซึ่งปัญหานี้เกิดจากการขาดแคลนครูที่มีทักษะในสาขาวิชาดังกล่าวด้วย ” ดร.ตรีนุช กล่าวและว่า นอกจากนี้ไทยยังพบปัญหาความเหลื่อมล้ำของคุณภาพการศึกษา โดยเด็กที่มาจากครอบครัวที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดี จะมีคะแนนสอบดีกว่าเด็กที่มาจากครอบครัวที่มีฐานะยากจน สอดคล้องกับข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) ในปี 2553 ซึ่งมีนักเรียนในสังกัด 7.7 ล้านคน โดยนักเรียนจำนวนครึ่งหนึ่งมีฐานะยากจน และได้รับเงินอุดหนุนเพิ่มเติมเพียงปีการศึกษาละ 1,000 บาทต่อหัว ซึ่งเงินจำนวนนี้ยังไม่เพียงพอต่อการยกระดับการศึกษาของเด็กยากจน

นักวิชาการทีดีอาร์ไอ กล่าวต่อไปว่า การพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานของประเทศจำเป็นต้องพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนแต่ละวิชาใหม่ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ เริ่มตั้งแต่ระดับประถมศึกษา นอกจากนี้ควรจัดสรรเงินอุดหนุนรายหัวแก่นักเรียนยากจนเพิ่มเติม เพิ่มความรับผิดชอบของผู้อำนวยการโรงเรียน และครู ต่อผลการเรียนของเด็กให้มีผลสัมฤทธิ์ผลมากขึ้น และปรับเปลี่ยนการผลิตครู และคัดเลือกครูที่มีคุณภาพ ด้วยการคัดครองบุคลากรที่เก่งเข้าสู่ระบบ และเป็นไปตามความต้องการของโรงเรียน ขณะเดียวกันต้นสังกัดที่ทำหน้าที่ผลิตครูรุ่นใหม่ต้องปรับเปลี่ยนหลักสูตรการฝึกครูให้สอนได้หลากหลายวิชา โดยเฉพาะวิชาหลัก สิ่งนี้จะสามารถตอบโจทย์เรื่องการขาดแคลนครูในวิชาหลักลงได้.

ที่มา : เดลินิวส์

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

krurayong

ผู้เขียน: krurayong

สุธาราทิพย์ แสงสุวรรณ เป็นที่ปรึกษาและติดยาเสพติดอายุ 31 ปีที่โรงพยาบาลศรีวิชัย เธอสำเร็จการศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี 2553 เธอทำงานกับทั้งวัยรุ่นและผู้ใหญ่เพื่อจัดการกับปัญหาการเสพติดและพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดและแอลกอฮอล์ ในเวลาว่างของเธอเธอมีส่วนร่วมในชมรมละครของชุมชนท้องถิ่น