พบเด็กชาติพันธุ์ อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้เหตุเรียนควบ’ภาษาไทย-พื้นถิ่น’

โรงเรียน - ครูระยอง

Print Friendly

พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษา ธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหาร ระดับสูงของ ศธ.ว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้รายงานความคืบหน้าการปรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 ซึ่งตนได้แนะนำว่าควรรีบดำเนินการ โดยเร็ว หากรอให้แล้วเสร็จพร้อมกันทุกระดับชั้น อาจทำให้ล่าช้า ดังนั้น ที่ประชุมจึงเสนอให้ สพฐ.แบ่งการปรับหลักสูตรเป็นช่วงชั้น เช่น หลักสูตรระดับปฐมวัย หลักสูตรระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 หรือช่วงชั้นที่ 1 จากนั้นค่อยดำเนินการต่อในช่วงชั้นที่ 2 คือ ระดับ ป.4-6 จนครบทุกช่วงชั้น ซึ่งจะทำให้หลักสูตรแกนกลางฉบับใหม่เสร็จเร็วขึ้น

รัฐมนตรีว่าการ ศธ.กล่าวต่อว่า สพฐ.ยังได้รายงานผลการเรียนการสอนระบบทวิภาษา 4×3 MC ซึ่งใช้ในโรงเรียนตามชายแดนและพื้นที่พิเศษ โดยมีโรงเรียนที่เด็กใช้ภาษาท้องถิ่นนอกเหนือจากภาษาไทยจำนวนมาก อาทิ ละหู่ อาข่า กะเหรี่ยง เมียน ไทยใหญ่ จีนฮ่อ ลีซอ ม้ง คะฉิ่น ละว้า มูเซอ อีก้อ ที่ประชุมเห็นว่ารูปแบบนี้อาจทำได้ดีในต่างประเทศ แต่เมื่อนำมาใช้ในประเทศไทยอาจเกิดปัญหา โดยเฉพาะเด็กที่ครอบครัวไม่ได้ใช้ภาษาไทยในการสื่อสาร อาจทำให้เข้าใจภาษาไทยช้าขึ้น โดยผลการสำรวจพบว่ามีนักเรียนชั้น ป.3 อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้จำนวนมากนั้นส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มดังกล่าว ดังนั้น ที่ประชุมจึงมอบให้ สพฐ.วิเคราะห์ข้อดี ข้อเสียของรูปแบบเพื่อหาข้อสรุปร่วมกันอีกครั้ง

“การให้ทบทวน ไม่ใช่การยกเลิก แต่ให้ไปดูความเหมาะสม ศึกษาข้อดีข้อเสีย หากไม่ทำให้เด็กเรียนรู้ภาษาไทยได้เร็วและดีขึ้น แต่เรียนรู้ภาษาไทยได้ช้าลง อนาคตก็อาจเป็นไปได้ที่จะยกเลิก และให้เด็กกลุ่มนี้เรียนภาษาไทยเพียงอย่างเดียว โดยหากจะมีการยกเลิกจริง ก็ต้องดำเนินการแบบค่อยเป็น ค่อยไป ไม่ใช่ยกเลิกทันที และยังจำเป็นต้องมีครูพี่เลี้ยงที่เป็นเจ้าของภาษาคอยดูแลนักเรียนด้วย” พล.ร.อ.ณรงค์กล่าว

ที่มา : มติชน

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

krurayong

ผู้เขียน: krurayong

สุธาราทิพย์ แสงสุวรรณ เป็นที่ปรึกษาและติดยาเสพติดอายุ 31 ปีที่โรงพยาบาลศรีวิชัย เธอสำเร็จการศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี 2553 เธอทำงานกับทั้งวัยรุ่นและผู้ใหญ่เพื่อจัดการกับปัญหาการเสพติดและพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดและแอลกอฮอล์ ในเวลาว่างของเธอเธอมีส่วนร่วมในชมรมละครของชุมชนท้องถิ่น