สะกิดครูสอนเต็มที่อย่ากั๊กเพื่อกวดวิชา

โรงเรียน - ครูระยอง

Print Friendly

รศ.นพ.กำจร ตติยกวี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวตอนหนึ่งในโอกาสเดินทางไปพบปะและมอบนโยบายผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการ ส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ว่า ขอให้ผู้บริหาร สช.ยึดหลัก 4 S ในการทำงาน S ที่ 1 Service Mind S ที่ 2 Speed S ที่ 3 Smart และ S ที่ 4 Systematically เพื่อให้งานเกิดการพัฒนาและมีคุณภาพ ทั้งขอเน้นย้ำการปฏิบัติงานต้องไม่มีการทุจริตคอร์รัปชันอย่างเด็ดขาด

ส่วนโรงเรียนเอกชนที่มีค่าเล่าเรียนค่อนข้างสูง ขอฝากให้ สช.ดูแลตามนโยบาย ไม่ให้มีการเก็บค่าเล่าเรียนเกินกว่าที่กฎหมายโรงเรียนเอกชนกำหนด เช่นเดียวกับในส่วนของโรงเรียนกวดวิชา โดยเฉพาะที่มีข้อครหาว่าครูไม่ทำการสอนในชั้นเรียนให้เต็มที่ แล้วออกมาเปิดโรงเรียนกวดวิชา จะมีการออกกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ครูที่ทำการเปิดสอนโรงเรียนกวดวิชา ทำการสอนในช่วงเวลาเรียนให้เต็มที่ ส่วนปัญหาเด็กทะเลาะวิวาทจนเสียชีวิต ซึ่งถือเป็นเรื่องใหญ่นั้นก็ต้องมีการช่วยกันดูแล และเชื่อว่าในอนาคตหากทุกภาคส่วนเข้ามาช่วยดูแลจะสามารถแก้ปัญหาการทะเลาะวิวาทได้

“ขณะนี้ผมมีแนวคิดในการดึงจุดเด่นของอาชีวศึกษาออกมา โดยพยายามสร้างอาชีวะสีขาว คือ มีการจัดเด็กเป็นกลุ่มๆ เพื่อเข้าเรียนในโรงเรียนอาชีวศึกษา แล้วให้สถานประกอบการเข้ามาช่วยดูแล ในขณะที่โรงเรียนและ สช.จะคอยเป็นพี่เลี้ยงให้ ซึ่งเด็กเหล่านี้จะได้เรียนอย่างจริงจังและได้ลงมือปฏิบัติจริง เมื่อจบออกไปทำงานในสถานประกอบการจะสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถ้าเราดำเนินการในจุดนี้ได้ก็จะมีเด็กเข้ามาเรียนอาชีวะเพิ่มมากขึ้น เพราะจบแล้วได้งานทำทันที การดำเนินการในลักษณะนี้จะเป็นเกราะคุ้มกันไม่ให้เกิดเหตุทะเลาะวิวาทขึ้นได้” ปลัด ศธ.กล่าวและว่า สำหรับการรวมอาชีวศึกษาเอกชนกับอาชีวศึกษาของรัฐเพื่อพัฒนาไปสู่ระบบและมาตรฐานเดียวกันนั้น ในหลักการผู้ที่เกี่ยวข้องเห็นชอบตรงกันแล้ว และขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาในรายละเอียด.

ที่มา : ไทยรัฐ

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

krurayong

ผู้เขียน: krurayong

สุธาราทิพย์ แสงสุวรรณ เป็นที่ปรึกษาและติดยาเสพติดอายุ 31 ปีที่โรงพยาบาลศรีวิชัย เธอสำเร็จการศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี 2553 เธอทำงานกับทั้งวัยรุ่นและผู้ใหญ่เพื่อจัดการกับปัญหาการเสพติดและพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดและแอลกอฮอล์ ในเวลาว่างของเธอเธอมีส่วนร่วมในชมรมละครของชุมชนท้องถิ่น