ประกาศปี 58 ปลอด นร.อ่านไม่ออก-เขียนไม่ได้ “ณรงค์” ฟุ้ง! ทำได้จริง 110%

สถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

Print Friendly

ศธ. ประกาศนโยบายปี 2558 เป็นปีปลอดนักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ “ณรงค์” มั่นใจ 110% ลดปัญหาเด็กอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ในทุกระดับชั้นได้แน่นอน จากข้อมูลปัจจุบันมีเด็ก ป.3 มีปัญหานี้อยู่ประมาณ 2.5 – 2.6 หมื่นคนทั่วประเทศ ย้ำเด็กที่โตขึ้นต้องอ่านเขียนคล่องและสื่อสารได้ พร้อมวาง 3 มาตรการให้ สพฐ.- เขตพื้นที่ฯ และสถานศึกษา นำไปปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลตามที่ประกาศไว้

ภาพจาก : กลุ่มประสัมพันธ์ สร.ศธ.

วันนี้ (12 ม.ค.) เมื่อเวลา 09.45 น. ที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วย นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) และผู้บริหาร สพฐ. แถลงข่าวประกาศนโยบาย ปี 2558 เป็นปีปลอดนักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ โดย พล.ร.อ.ณรงค์ กล่าวว่า ปัญหานักเรียนอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้มีมาอย่างต่อเนื่อง เพราะฉะนั้นในปี 2558 นี้ ศธ. จึงได้กำหนดให้การแก้ไขปัญหาดังกล่าวเป็นนโยบายเร่งด่วนที่ต้องทำให้สำเร็จ ซึ่งจากข้อมูล สพฐ. พบว่า ขณะนี้มีนักเรียนประมาณ 25,000 – 26,000 คน ที่ยังอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้กระจายอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ โดยส่วนใหญ่เป็นเด็กที่อยู่ในพื้นที่ชายแดน กลุ่มชาติพันธุ์ เด็กต่างด้าวที่ติดตามพ่อแม่เข้ามาทำงาน ซึ่งไม่ได้ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาแม่ในการสื่อสารหลัก ทำให้เมื่อเข้ามาสู่ระบบการศึกษาเด็กจึงประสบปัญหาในการเรียน และเมื่อเด็กอ่านเขียนไม่ได้ก็เป็นผลให้ไม่สามารถเรียนรู้ในวิชาอื่นๆ ได้ตรงนี้เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพของเด็ก เพาะฉะนั้น การแก้ปัญหาอันดับแรก คือ ต้องทำให้นักเรียนทุกคนในระบบการศึกษา อ่านเขียนภาษาไทยได้และเข้าใจในสิ่งที่อ่านเขียน ถือเป็นหัวใจำคัญของการจัดการ ศึกษาระดับขั้นพื้นฐาน

รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ ได้กำหนดมาตรการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้ 1. ให้ สพฐ. ประกาศนโยบายและกำหนดมาตรการเร่งรัดคุณภาพให้นักเรียนทุกระดับชั้นสามารถต้องอ่านออกเขียนได้ อ่านคล่อง เขียนคล่องและสื่อสารได้ มีการกำกับติดตามการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ทั้ง 225 เขตทั่วประเทศ ซึ่งต้องรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานต่อ ศธ. 2. กำหนดให้ สพท. ดำเนินการประกาศโยบายแก่โรงเรียนในสังกัด ต้องมีข้อมูลการอ่านเขียนของนักเรียนทุกระดับชั้น เพื่อนำมาวิเคราะห์วางแผนการพัฒนาเด็กร่วมกับโรงเรียน และสรุปข้อมูลดังกล่าวรายงานต่อ สพฐ. มีการนิเทศ จัดทำแผนงาน กิจกรรมให้ความช่วยเหฃือสถานศึกษาในการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง และรายงานความก้าวหน้าต่อ สพฐ. เป็นระยะ และ 3. สถานศึกษา ต้องกำหนดเป็นนโยบายสำคัญให้ครูและผู้เกี่ยวข้องดำเนินการทุกวิธีให้นักเรียนอ่านเขียนได้ตามมาตรฐานของหลักสูตร ปรับระบบบริหารจัดการให้ครูทุกคน ไม่เฉพาะครูวิชาภาษาไทย มีส่วนร่วมรับผิดชอบการแก้ไขปัญหาอ่านเขียนของนักเรียน มีแผนซ่อมเสริมนักเรียนทุกคนที่มีปัญหา โดยการซ่อมเสริมต้องแล้วเสร็จภายในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 ต้องประสานผู้ปกครองให้รับทราบปัญหาและมีส่วนร่วมในการดูแลบุตรหลานให้อ่านเขียนได้ กำกับติดตาม นิเทศ ช่วยเหลือครูในการแก้ปัญหาอ่านเขียนของนักเรียน พร้อมรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานต่อ สพท.อย่างต่อเนื่อง

ที่มา : ผู้จัดการ

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

krurayong

ผู้เขียน: krurayong

สุธาราทิพย์ แสงสุวรรณ เป็นที่ปรึกษาและติดยาเสพติดอายุ 31 ปีที่โรงพยาบาลศรีวิชัย เธอสำเร็จการศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี 2553 เธอทำงานกับทั้งวัยรุ่นและผู้ใหญ่เพื่อจัดการกับปัญหาการเสพติดและพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดและแอลกอฮอล์ ในเวลาว่างของเธอเธอมีส่วนร่วมในชมรมละครของชุมชนท้องถิ่น