สช.เร่งศึกษาปรับเงินอุดหนุนเอกชน รองรับระบบคูปอง-ลดค่าเล่าเรียน – ครูระยอง


สช.เร่งศึกษาปรับเงินอุดหนุนเอกชน รองรับระบบคูปอง-ลดค่าเล่าเรียน

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.)

Print Friendly

แหล่งข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน(สช.) เปิดเผยว่าจากการประชุมคณะทำงานศึกษาแนวทางการให้การอุดหนุนของรัฐในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนเอกชน ที่มีนายบัณฑิตย์ ศรีพุทธางกูร เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (กช.) เป็นประธานในการประชุมคณะทำงานฯเมื่อเร็วๆ นี้ได้มีมติมอบให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน(สช. )จัดทำแนวทางทางการให้การอุดหนุนของรัฐในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนเอกชนเสนอคณะรัฐมนตรีและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ใน3 ส่วนได้แก่

  1. ปรับโครงสร้างเงินอุดหนุนรายบุคคลนักเรียนโรงเรียนเอกชนจากองค์ประกอบเดิมที่ประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายพื้นฐาน เงินอุดหนุนสมทบเป็นเงินเดือนครู และเงินอุดหนุนเพิ่มร้อยละ 10 ตามนโยบายเรียนฟรี ไปสู่รูปแบบการอุดหนุนด้านอุปสงค์ หรือระบบคูปองศึกษาในอนาคต เพื่อช่วยสร้างกระบวนการแข่งขันในเชิงคุณภาพให้แก่ระบบการศึกษา ในระยะยาวในระยะเริ่มแรกจะอุดหนุนในอัตราร้อยละ 70 ของอัตราค่าใช้จ่ายรายบุคคลสำหรับนักเรียนภาครัฐที่สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา(สกศ.)ศึกษาไว้ในปี 2553 เพื่อช่วยเหลือโรงเรียนเอกชนที่รับเงินอุดหนุนในปัจจุบันให้มีรายได้ที่เพียงพอสำหรับปรับคุณภาพการศึกษาให้ได้มาตรฐาน และให้ สกศ. คำนวณอัตราค่าใช้จ่ายรายบุคคลนักเรียนภาครัฐที่เป็นปัจจุบันในแต่ละปี เพื่อใช้เป็นฐานในการปรับอัตราเงินอุดหนุนให้สอดคล้องกับสภาพค่าใช้จ่ายที่แท้จริง
  2. การอุดหนุนในระยะต่อไปให้มีการเชื่อมโยงเงินอุดหนุนกับคุณภาพการจัดการศึกษา โดยกำหนดให้โรงเรียนที่จะได้รับเงินอุดหนุนเพิ่มขึ้นในระยะต่อไป ต้องมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นไปตามเกณฑ์ที่กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.)กำหนด และให้นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการตรวจสอบข้อมูลนักเรียนไม่ให้เกิดความ ซ้ำซ้อนด้วย
  3. การเก็บค่าธรรมเนียมการศึกษาเพื่อไม่ให้กระทบกับผู้ปกครองในระยะแรกให้โรงเรียนลดค่าธรรมเนียมการศึกษาลงเท่ากับจำนวนที่ได้รับการอุดหนุนเพิ่มขึ้นในแต่ละครั้งด้วย

ที่มา : มติชน

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

krurayong

ผู้เขียน: krurayong

สุธาราทิพย์ แสงสุวรรณ เป็นที่ปรึกษาและติดยาเสพติดอายุ 31 ปีที่โรงพยาบาลศรีวิชัย เธอสำเร็จการศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี 2553 เธอทำงานกับทั้งวัยรุ่นและผู้ใหญ่เพื่อจัดการกับปัญหาการเสพติดและพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดและแอลกอฮอล์ ในเวลาว่างของเธอเธอมีส่วนร่วมในชมรมละครของชุมชนท้องถิ่น