สพฐ.เสนอแนวทางปรับลดเวลาเรียน ผุด 4 กิจกรรมทำหลังบ่ายสอง – ครูระยอง

Print Friendly

นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวว่า ตามที่ พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ มีนโยบาย “การลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” โดยจะปรับลดเวลาเรียนวิชาการในชั้นเรียนถึงเวลา 14.00 น. และช่วงเวลาต่อจากนั้นจะให้จัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาเด็กให้เหมาะสมตามวัย โดยนำร่อง 3,500 โรงเรียน ในระดับประถมและมัธยมศึกษาตอนต้น เริ่มภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ 225 เขตจะเปิดรับสมัครโรงเรียนที่มีความพร้อมและสมัครใจเข้าร่วมโครงการ

นายกมล กล่าวว่า สพฐ. ได้กำหนดกิจกรรมให้โรงเรียนเลือกนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ 4 กิจกรรม ได้แก่

  1. กิจกรรมเสริมสร้างทักษะ ที่เน้นให้เด็กทำกิจกรรมนอกห้องเรียน โดยกิจกรรมจะเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เด็กได้เรียนรู้ในช่วงเช้า เพื่อให้เด็กมีทักษะและลงมือปฏิบัติจริง อาทิ การทำโครงงาน การวาดรูป เล่นละครประวัติศาสตร์ เป็นต้น
  2. กิจกรรมเสรี ให้โรงเรียนจัดตามความเหมาะสมและความพร้อม อาทิ ชมรมจิตอาสา ชมรมกีฬา ฯลฯ
  3. กิจกรรมสอนอาชีพ ซึ่งมีโรงเรียนในสังกัด สพฐ. กว่าหมื่นโรง มีความต้องการเรื่องดังกล่าว โดยโรงเรียนอาจชักชวนผู้ปกครอง หรือภูมิปัญญาชาวบ้านเข้ามาร่วมให้ความรู้และสอนอาชีพแก่นักเรียน รวมกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาทักษะชีวิตด้วย
  4.  กิจกรรมสอนเสริมวิชาการ ซึ่งไม่ใช่การติวเด็ก แต่เป็นการดูแลเด็กที่มีปัญหาเรียนอ่อน หรือสอนการบ้าน เป็นต้น

สพฐ. มีแนวทางการจัดกิจกรรมชัดเจน ต้องไม่เก็บเงินจากผู้ปกครองแม้แต่บาทเดียว โรงเรียนจะต้องมีความพร้อมในการจัด และ สพฐ. จะสนับสนุนตามความเหมาะสม และทุกกิจกรรมจะออกแบบให้มีความเหมาะสมกับผู้เรียน ไม่ได้ปล่อยให้เด็กมีอิสระ โดยมีครูดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด ยืนยันว่า เด็กนักเรียนทุกคนยังคงมาเรียนและกลับบ้านเวลาเดิม
นายกมลกล่าว

ส่วนแผนการดำเนินงานต่อจากนี้จะหารือกับ รมว.ศึกษาธิการ ในการกำหนดแผนขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าวให้เกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม โดย สพฐ. ได้ตั้งคณะทำงานพร้อมจัดทำคู่มือการบริหารจัดการเรื่องการลดเวลาเรียนให้แก่สถานศึกษาได้นำไปเป็นแนวทางสู่การปฏิบัติ รวมถึงตารางกิจกรรมการเรียนการสอนให้ครูได้นำไปประยุกต์ใช้ ขณะเดียวกัน จะเปิดเว็บไซต์รับฟังความคิดเห็นจากนักเรียนด้วยว่าอยากได้กิจกรรมรูปแบบไหนด้วย ตนจะเชิญผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา 225 เขต และโรงเรียนประถมศึกษาที่นำร่องในเรื่องดังกล่าวมารับฟังแนวปฏิบัติ เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดผลสำเร็จ

ที่มา :  ผู้จัดการ

krurayong

ผู้เขียน: krurayong

สุธาราทิพย์ แสงสุวรรณ เป็นที่ปรึกษาและติดยาเสพติดอายุ 31 ปีที่โรงพยาบาลศรีวิชัย เธอสำเร็จการศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี 2553 เธอทำงานกับทั้งวัยรุ่นและผู้ใหญ่เพื่อจัดการกับปัญหาการเสพติดและพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดและแอลกอฮอล์ ในเวลาว่างของเธอเธอมีส่วนร่วมในชมรมละครของชุมชนท้องถิ่น