สั่งสมศ.ปรับบทเป็น”ให้ไม้เรียวและดอกไม้” ยงยุทธแย้มคงต้องแก้พรบ.เพื่อเรียกศรัทธาองค์กรประเมินกลับคืน

Print Friendly

“ยงยุทธ” เผยอาจต้องแก้ พ.ร.บ.สมศ.ปรับบทบาทจากผู้ประเมินเหมาเข่ง เป็นเลือกสุ่มประเมินและให้ใบรับรองสถานศึกษาแทน เปรียบเปรยต้องทำสองอย่างเวลาเดียวกันทั้งให้ไม้เรียวและดอกไม้ ชี้จุดอ่อน สมศ.ที่ผ่านมา ตัวชี้วัดยุ่บยั่บเกินไป แต่ประเมินได้เพียงปริมาณ ไม่ใช่ประสิทธิภาพ เข้าไม่ถึงการชี้วัดคุณภาพที่แท้จริง

วันที่ 8 ธันวาคม ที่ไบเทค บางนา สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) จัดประชุมวิชาการนานาชาติ เรื่องการประกันคุณภาพการศึกษา ประจำปี พ.ศ.2557

โดยมีนายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดการประชุม พร้อมด้วย พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) และผู้อำนวยการผู้บริหาร สมศ. ทั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรีได้กล่าวปาฐกถาพิเศษ ภายใต้หัวข้อ “การตรวจสอบคุณภาพสถานศึกษา” มีใจความตอนหนึ่งว่า สมศ.มีบทบาทหน้าที่ในการประเมินและรับรองคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาทุกระดับ แต่ผลงานของ สมศ.ในรอบ 15 ปีที่ผ่านมา สมศ.เน้นการประเมินเป็นหลัก ไม่ค่อยมีการทำงานด้านการรับรอง และตนคิดว่าการประกันคุณภาพควรจะมีในทุกช่วงวงจรการผลิต หรือ PDCA คือเริ่มประเมินตั้งแต่แผนการปฏิบัติงาน (Plan) การลงมือทำ (Do) ทำการประเมินด้วยตนเอง (สถานศึกษา) และผู้ที่เกี่ยวข้อง (ผู้ปกครอง) (Check) และสุดท้ายเมื่อพบปัญหาอุปสรรคควรแก้ไข (Act)

นายยงยุทธกล่าวต่อว่า ถึงแม้ สมศ.จะมีความสำเร็จบ้าง แต่ก็ยังคงมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆ เนื่องจาก พ.ร.บ.ปี 2549 กำหนดให้ สมศ.ต้องประเมินทุกสถานศึกษา และในปัจจุบันสถานศึกษามีเพิ่มขึ้นจำนวนมาก การดำเนินการจึงทำได้ยาก ซึ่งอาจจะมีการปรับแก้ พ.ร.บ.ฉบับนี้ เช่น เปลี่ยนการประเมินไม่จำเป็นต้องทำทุกสถานศึกษา อาจจะใช้การสุ่มตรวจ เป็นต้น และการประเมินของ สมศ.ยังมีตัวชี้วัดที่มากเกินไป วัดเชิงปริมาณมากกว่าประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทั้งนี้ คิดว่า สมศ.ควรจะเพิ่มเรื่องการรับรองสถานศึกษาเพิ่มมากขึ้นจากที่ทำอยู่ในปัจจุบัน และรองรับให้แก่สถานศึกษาที่สมัครใจ การกระทำเช่นนี้อาจจะทำให้ สมศ.ก้าวมาเป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับด้านการวัดมาตรฐานด้านการศึกษา

“ผมอยากถามว่าต่อไป สมศ.ควรมีบทบาทอย่างไร จะเป็นผู้ถือไม้เรียวหรือให้ช่อดอกไม้ หรือทำทั้งสองอย่าง เพราะที่ผ่านมา สมศ.เหมือนผู้ถือไม้เรียว เข้าไปตรวจข้อสอบขณะที่ผู้ที่จะถูกตรวจสอบยังไม่ได้รับการฝึกฝนอย่างเพียงพอ สมศ.จึงต้องปรับบทบาทเข้าไปช่วยเหลือสถานศึกษาด้วย และต้องเริ่มปรับบทบาทใหม่โดยการรับรองสถานศึกษาโดยความสมัครใจของสถานศึกษา” นายยงยุทธกล่าว และว่า อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดเป็นเพียงข้อเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาต่อไป

ด้าน พล.ร.อ.ณรงค์กล่าวว่า ตนอยากให้ สมศ.กำหนดมาตรฐานเกณฑ์การประเมินสถานศึกษาที่ความน่าเชื่อถือและควรเป็นมาตรฐานสากล แต่ต้องสอดคล้องกับบริบทความเป็นไทยและท้องถิ่น โดยต้องไม่เป็นการเพิ่มภาระงานเกินความจำเป็น หรือส่งผลกระทบต่อการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา อีกทั้ง สมศ.ควรสร้างกลไกในการเผยแพร่ข้อมูลความรู้ ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการประเมินคุณภาพการศึกษา และต้องสร้างมาตรฐานของผู้ประเมินที่ชัดเจนและมีความเป็นมืออาชีพ เนื่องจากที่ผ่านมามีเสียงสะท้อนว่าผู้ประเมินไม่มีคุณภาพ

“ผมอยากเห็นการประเมินของ สมศ.เป็นสิ่งที่สถานศึกษาอ้าแขนรับ อยากให้ สมศ.เข้าไปประเมินว่า ประเมินแล้วสถานศึกษาได้รับความรู้ ได้เห็นจุดอ่อนหรือจุดบกพร่องเพื่อนำไปแก้ไข ไม่อยากเห็นสถานศึกษาต่อต้านการประเมินของ สมศ. ซึ่งอยากให้ สมศ.นำเรื่องนี้ไปคิดได้แล้ว สำหรับการประเมินภายนอกสถานศึกษารอบ 4 เริ่มประเมิน 1 ตุลาคม 2558 (ประจำปีงบประมาณ 2559-2563) อยากให้ สมศ.รอทิศทางที่ชัดเจนจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ก่อน เพื่อจะได้แนวทางการประเมินภายนอกสถานศึกษาที่ถูกต้อง เพราะไม่อยากให้ สมศ.ทำไปก่อน เดี๋ยวจะเพี้ยนไปจากเดิมเช่นที่ผ่านมา และขอให้ไปคิดด้วยว่าจะทำอย่างไรให้สถานศึกษาเตรียมการรองรับการประเมินเพื่อให้ผลการประเมินออกมาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ” รมว.

ที่มา : ไทยโพสต์

ครูไทยถูกดึงออกห้องเรียนเกือบครึ่งปีการศึกษา

ปฏิรูป นโยบายของการศึกษาไทย

Print Friendly

ที่สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพชีวิตเยาวชน (สสค.) ได้มีการแถลงข่าวคลี่ตารางชีวิตครูไทยใน 1 ปี เสียงสะท้อนจากครูที่นักปฏิรูปต้องฟัง โดย ดร.ไกรยศ ภัทรวาท ผู้เชี่ยวชาญนโยบายด้านเศรษฐศาสตร์การศึกษา สสค. กล่าวว่า จากการวิจัยเรื่อง กิจกรรมภายนอกชั้นเรียนที่กระทบต่อการจัดการเรียนการสอนของครู โดยการสัมภาษณ์ครูที่ได้รับรางวัล “ครูสอนดี” จาก สสค. ทั่วประเทศ 427 คน ระหว่างวันที่ 15 ก.ย.-15 ต.ค.2557 พบว่า ใน 1 ปี มีจำนวนวันเปิดเรียน 200 วัน หรือ 1 ปีการศึกษา ซึ่งครูต้องใช้เวลากับกิจกรรมภายนอกชั้นเรียน ที่ไม่ใช่การจัดการเรียนการสอนถึง 84 วัน คิดเป็น 42% โดยกิจกรรมนอกชั้นเรียนที่ครูต้องใช้เวลามากที่สุด 3 อันดับแรกคือ การประเมินของหน่วยงานภายนอก 43 วันต่อปี การจัดแข่งขันทางวิชาการ 29 วัน และการอบรมที่จัดโดยหน่วยงานภายนอก 10 วัน ทั้งนี้หน่วยงานประเมินที่อยากให้ปรับปรุงมากที่สุดคือ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) 98% ส่วนหน่วยงานต้นสังกัดที่อยากให้ปรับปรุงมากที่สุดคือ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) 52.63% และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) 38.30% นอกจากนี้ครูมากกว่า 90% เห็นว่าโรงเรียนต้องมีอิสระในการบริหารจัดการทุกด้าน และควรคืนครูสู่ห้องเรียน ตลอดจนลดภาระงานของครูที่ไม่มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก

ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ตัวเลข 42% ที่ครูใช้เวลากับกิจกรรมภายนอกชั้นเรียนเป็นสิ่งที่น่าตกใจมาก เพราะผลการวิจัยขององค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกาในปี 2555 ที่ได้ศึกษาเวลาของครูที่ใช้ในห้องเรียน พบว่า เมื่อครูถูกดึงออกนอกห้องเรียนที่ไม่เกี่ยวกับการสอนไป 20-30% จะมีผลต่อการเรียนรู้ของเด็กอย่างมาก ดังนั้นจึงไม่แปลกใจเลยว่าเหตุใดคุณภาพการศึกษาของไทยจึงไม่ดีขึ้น ยิ่งปัจจุบันมีนโยบายว่าทุกโรงเรียนต้องทำคะแนนแบบทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือโอเน็ต ของเด็กให้สูงขึ้น ยิ่งทำให้ครูไม่ต้องสอนหนังสือ เพราะไปติวแต่โอเน็ต ทำให้การคิดวิเคราะห์ของเด็กทุกวันนี้เป็นของปลอม ไม่ได้เกิดจากการเรียนรู้ แต่เกิดจากการติว ซึ่งอันตรายมาก ส่วนเสียงสะท้อนที่ต้องการให้ลดภาระงานของครูลงนั้น ตนได้ยินมาแล้วไม่ต่ำกว่า 10 ปี แต่ปัจจุบันยังเหมือนเดิม ไม่มีการตัดสินใจในเชิงนโยบายของคนข้างบน ดังนั้นในเมื่อเวลานี้กำลังมีการปฏิรูปการศึกษา และต้องการจะหาของขวัญมอบให้ครู ก็ควรลดภาระงานเอกสาร และยุบ สมศ. ลง เชื่อว่าครูจะมีความสุขกับการสอนอย่างแน่นอน

ด้าน ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ กล่าวว่า การศึกษาไทยยังขาดข้อมูลอีกเยอะ ที่ผ่านมาการวางแผนจึงอยู่บนความเห็นเป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้ตนมองว่าปัญหาการศึกษาทุกวันนี้เกิดจากการผูกติดอยู่กับระบบความดีความชอบ และการประเมินวิทยฐานะ ดังนั้นควรมีการรื้อ และแก้กฎหมายต่างๆ เกี่ยวกับการพิจารณาความดีความชอบ และการประเมินวิทยฐานะของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) รวมถึงการโยกย้าย และบรรจุแต่งตั้งของคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) เขตพื้นที่ เพราะปัจจุบันมีปัญหาการเรียกรับเงินกันมาก ซึ่งน่าแปลกใจว่า อ.ก.ค.ศ. ได้เบี้ยประชุมไม่กี่ร้อยบาท แต่ทำไมคนจึงแย่งกันทำหน้าที่นี้ ซึ่งถือเป็นเรื่องใหญ่ที่เปิดช่องให้คนไม่ดีมาเรียกร้องประโยชน์จากครู นอกจากนี้ตนอยากให้ สมศ. ชะลอการประเมินคุณภายภายนอกรอบสี่ และทบทวนสิ่งที่เป็นปัญหาให้ได้ก่อน ได้แก่ มาตรฐานตัวชี้วัด มาตรฐานผู้ประเมิน และภาระงานเอกสาร เพราะหากยังแก้ไม่ได้การประเมินฯรอบสี่ก็ไร้ความหมาย และเป็นปัญหาแน่

นายอาคม สมพามา ตัวแทนครูสอนดี โรงเรียนสายธรรมจันทร์ จังหวัดราชบุรี กล่าวว่า อยากให้ทบทวนวิธีการสอบโอเน็ตใหม่ เพราะถ้าวัดด้วยคำถามแบบปรนัย โดยใช้ข้อสอบชุดเดียวกันทั้งประเทศ และบอกว่าผลสัมฤทธิ์ของเด็กต่ำ ตนคิดว่าไม่ยุติธรรม เพราะเราไม่ได้วัดในสิ่งที่เด็กใช้ และไม่สอดคล้องกับบริบทของนักเรียนที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ทุกวันนี้โรงเรียนยังถูกฉกฉวยผลประโยชน์จากกระทรวงต่างๆ โดยใช้เด็กเป็นเครื่องมือ และให้ครูเป็นผู้สร้างเครื่องมือ เพื่อสร้างผลงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ของหน่วยงานตนเอง ทุกวันนี้ครูจึงต้องทำหลายหน้าที่ ทั้งสอน เป็นที่ปรึกษาเด็ก เยี่ยมบ้านเด็ก และทำงานธุรการ ซึ่งรู้สึกไม่ยุติธรรมกับครู จึงอยากให้แก้ไขปัญหาเหล่านี้อย่างเร่งด่วน.

ที่มา : เดลินิวส์

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

คณะรัฐมนตรีมีมติปรับค่าตอบแทนพนักงานราชการ

ครูระยอง - เงินเดือน

Print Friendly

ณ ทำเนียบรัฐบาล ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานฯ ร้อยเอก ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยพลตรี สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ชี้แจงเกี่ยวกับเรื่องการปรับค่าตอบแทนพนักงานราชการ สรุปสาระสำคัญ ดังนี้

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ สำนักงาน กพ. เสนอ ดังนี้

  1. การปรับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว ให้พนักงานราชการที่ได้รับการจ้างวุฒิการศึกษา
    ระดับต่ำกว่าปริญญาตรี ที่มีค่าตอบแทนไม่ถึง 13,285 บาท ให้ได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเดือนละ 2,000 บาท แต่เมื่อรวมกับค่าตอบแทนแล้ว ต้องไม่เกินเดือนละ 13,285 บาท และกรณีที่รวมกันแล้ว
    มีค่าตอบแทนไม่ถึง 10,000 บาท ให้ได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเพิ่มขึ้นจากค่าตอบแทนอีกจนถึง เดือนละ 10,000 บาท โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2557
  2. ให้พนักงานราชการกลุ่มงานบริการ กลุ่มงานเทคนิคทั่วไป กลุ่มงานบริหารทั่วไป และกลุ่มงานวิชาชีพเฉพาะ ได้รับค่าตอบแทนเพิ่มร้อยละ 4 โดยให้มีผลใช้บังคับ 1 ธันวาคม 2557
  3. ปรับเพดานบัญชีค่าตอบแทนขั้นสูง กลุ่มงานบริการ กลุ่มงานเทคนิคทั่วไป กลุ่มงานบริหารทั่วไป และกลุ่มงานวิชาชีพเฉพาะ ร้อยละ 4 และให้มีผลใช้บังคับวันเดียวกับการปรับเพิ่มเพดานเงินเดือนขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ

สาระสำคัญของเรื่อง

เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายรัฐบาล และแนวทางการยกระดับรายได้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐชั้นผู้น้อยโดยรวมตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้พิจารณาเห็นชอบ และหลักการกำหนดค่าตอบแทนของพนักงานราชการ ฝ่ายเลขานุการจึงได้เสนอแนวทางดำเนินการ ดังนี้

  • วัตถุประสงค์ เพื่อปรับรายได้ของพนักงานราชการให้มีรายได้ที่เพียงพอต่อการดำรงเกียรติ ศักดิ์ศรี เพื่อจะได้ปฏิบัติตนและอุทิศตัวเพื่อประโยชน์สุขของสังคม
  • หลักการ การปรับเพิ่มรายได้ของพนักงานราชการ ควรสอดคล้องกับภาวการณ์ครองชีพที่เพิ่มขึ้น โดยไม่สร้างภาระงบประมาณมากจนเกินควร และคำนึงถึงผลกระทบต่อต้นทุนการจ้างงานภาคเอกชน
  • แนวทางดำเนินการ
  1. ปรับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว ให้พนักงานราชการที่ได้รับการจ้างวุฒิการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรี ที่มีค่าตอบแทนไม่ถึง 13,285 บาท ให้ได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเดือนละ 2,000 บาท แต่เมื่อรวมกับค่าตอบแทนแล้ว ต้องไม่เกินเดือนละ 13,285 บาท และกรณีที่ รวมกันแล้ว มีค่าตอบแทนไม่ถึง 10,000 บาท ให้ได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเพิ่มขึ้นจากค่าตอบแทนอีกจนถึงเดือนละ 10,000 บาท ประมาณการพนักงานราชการที่จะได้รับการเงินเพิ่มดังกล่าว จำนวน 35,500 คน โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2557
  2. ปรับบัญชีค่าตอบแทน
    1. พนักงานราชการกลุ่มงานบริการ กลุ่มงานเทคนิคทั่วไป กลุ่มงานบริหารทั่วไป และกลุ่มงานวิชาชีพเฉพาะ จะได้รับค่าตอบแทนเพิ่มร้อยละ 4 โดยให้มีผลใช้บังคับ 1 ธันวาคม 2557 โดยเทียบเคียงกับข้าราชการประเภทวิชาการระดับตำแหน่งไม่เกินระดับชำนาญการ ประมาณการพนักงานราชการที่จะได้รับค่าตอบแทนเพิ่ม จำนวน 126,200 คน
    2. ปรับเพดานบัญชีค่าตอบแทนขั้นสูง กลุ่มงานบริการ กลุ่มงานเทคนิคทั่วไปกลุ่มงานบริหารทั่วไป และกลุ่มงานวิชาชีพเฉพาะ อีกร้อยละ 4 เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับค่าตอบแทนของพนักงานราชการ เช่นเดียวกับการปรับบัญชีค่าตอบแทนของพนักงานราชการทุกครั้งที่ผ่านมา ทั้งนี้ ให้มีผลใช้บังคับวันเดียวกับการปรับเพิ่มเพดานเงินเดือนขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ
    3. แก้ไขประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ เรื่อง ค่าตอบแทนพนักงานราชการ (ฉบับที่..) พ.ศ. …. เพื่อปรับปรุงบัญชีกำหนดอัตราค่าตอบแทนของพนักงานราชการ

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

UTQ-00103 การประกันคุณภาพ (โจทย์ใหม่)

เฉลย UTQplus - ครูระยอง

Print Friendly

UTQ-00103 การประกันคุณภาพ (โจทย์ใหม่)

  • แผนพัฒนาคุณภาพควรยึดอะไรเป็นฐาน (ตัวตั้ง)
    – มาตรฐานการศึกษา
  • ข้อใดคือประโยชน์ของการจัดทำรายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษาประจำปีของสถานศึกษา
    – นำผลไปใช้ปรับปรุงงาน วางแผนต่อๆไป
  • หากเปรียบกระบวนการพัฒนาคนในสถานศึกษาเหมือนการสร้างบ้าน ผู้ใดเปรียบเป็นสถาปนิก
    – ครู
  • ข้อใดกล่าวเกี่ยวกับการนำข้อเสนอแนะในการประเมินภายนอกและการประเมินตนเองประจำปีที่ผ่านมา มาใช้ในการวางแผนพัฒนาได้ถูกต้องที่สุด
    – ให้นำข้อเสนอแนะจากการประเมินคุณภาพภายนอกและจากรายงานการประเมินตนเองประจำปีมาดำเนินการทุกเรื่อง
  • ข้อใดคือ ความหมายของการประกันคุณภาพภายใน
    – การประเมินติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานของสถานศึกษาโดยหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษา
  • ข้อใด ไม่ใช่ ความหมายของมาตรฐานการศึกษา
    – ข้อกำหนดเพื่อใช้เป็นหลักในการการประกันคุณภาพภายนอก
  • ในรายงานการประเมินคุณภาพภายในประจำปี จะไม่มี เรื่องใด
    – การรับรอง / ไม่รับรองคุณภาพ
  • ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการกำหนดให้มีมาตรฐานการศึกษา
    – คุณภาพการจัดสถานศึกษาให้เป็นแหล่งชุมชนการเรียนรู้
  • ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับแนวทางการเขียนรายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษาประจำปีของสถานศึกษา
    – ระบุมาตรฐานการศึกษา
  • การดำเนินกิจกรรมเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้นโดยมีมาตรฐานการศึกษาของสถาน ศึกษาเป็นเป้าหมาย คือกระบวนการใดในระบบการประกันคุณภาพภายใน
    – การตรวจสอบคุณภาพ
  • สิ่งใดคือสิ่งที่สะท้อนคุณภาพการศึกษา
    – ถูกทุกข้อ
  • ข้อใดไม่ใช่ขั้นตอนของระบบการประกันคุณภาพ
    – การพัฒนาคุณภาพ
  • การกำหนดให้มีมาตรฐานการศึกษาเป็นการให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษา
    – ถูกทุกข้อ
  • เป้าประสงค์ของการประเมินผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนา คืออะไร
    – ทราบปัญหา อุปสรรค และแนวทางการพัฒนาคุณภาพ
  • จุดมุ่งหมายของการประกันคุณภาพภายใน คือข้อใด
    – การพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษา
  • “ครูใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมผนวกกับการนำบริบทและภูมิปัญญาของท้อง ถิ่นมาบูรณาการในการจัดการเรียนรู้” เป็นมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานด้านใด
    – มาตรฐานด้านการจัดการศึกษา
  • ปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามที่ต้องการคือข้อใด
    – ความสามารถของผู้เรียน
  • การประกันคุณภาพเป็นหน้าที่ของใครบ้าง
    – บุคลากรทุกคนในสถานศึกษา
  • ข้อใดกล่าวเกี่ยวกับการนำความต้องการของผู้เกี่ยวข้องมาใช้ในการวางแผนพัฒนา ถูกต้องที่สุด
    – ให้นำทุกเรื่องมาบูรณาการ กับสภาพปัจจุบัน ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ
  • การประเมินคุณภาพภายนอก เหมือนหรือต่างกันกับ การประกันคุณภาพภายใน อย่างไร
    – ต่างกัน เพราะการประเมินคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของการประกันคุณภาพภายนอก

ที่มา : โอตะคุ น่ารักดี

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

๊UTQ-02304 การพัฒนาสมรรถนะประจำสายงานและสมรรถนะหลักสำหรับผู้บริหาร

เฉลย UTQplus - ครูระยอง

Print Friendly

02304 การพัฒนาสมรรถนะประจำสายงานและสมรรถนะหลักสำหรับผู้บริหาร
จำนวนคำถาม : 25 ข้อ ได้ 19/25 : –

  • ตัวบ่งชี้ของสมรรถนะข้อใดไม่เข้าพวก
    – เกิดความพึงพอใจ
  • “ความคิดเชิงระบบในการแก้ปัญหาหรือพัฒนางาน”ถือเป็นตัวบ่งชี้ของสมรรถนะใด
    – การวิเคราะห์และสังเคราะห์
  • การศึกษาค้นคว้า หาความรู้ ติดตามองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในวงวิชาการและวิชาชีพเพื่อพัฒนาตนเองและพัฒนางาน คือสมรรถนะใด
    – การพัฒนาตนเอง
  • กฎ ระเบียบต่าง ๆ ต่อไปนี้เกี่ยวข้องในการนำสมรรถนะมาใช้ในระบบราชการ ยกเว้นข้อใด
    – พระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547
  • แนวทางการพัฒนาสมรรถนะต่อไปนี้ข้อใดสามารถโน้มน้าวให้ผู้อื่นเห็นด้วย ยอมรับคล้อยตาม เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายของการสื่อสาร
    – นำเสนอข้อมูลสารสนเทศด้านแนวคิด หลักวิชาการเพื่อให้ผู้อื่นคล้อยตาม
  • ความสามารถในการให้คำปรึกษา แนะนำ และช่วยเหลือปัญหาให้แก่เพื่อนร่วมงานและผู้เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมในการพัฒนาบุคลากร ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่าง รวมทั้งส่งเสริม สนับสนุนและให้โอกาสเพื่อนร่วมงานได้พัฒนาในรูปแบบต่างๆ คือสมรรถนะใด
    – การพัฒนาศักยภาพบุคลากร
  • ข้อใดเป็นตัวบ่งชี้ของสมรรถนะที่แตกต่างจากข้ออื่น
    – เกิดจากกระบวนการคิดเชิงระบบ
  • คุณลักษณะของบุคคลในต่อไปนี้ข้อใดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของบุคคลและสามารถพัฒนาได้ยากที่สุด
    – ค่านิยม
  • การประเมินที่ดีควรมีลักษณะต่อไปนี้ ยกเว้นข้อใด
    – ไม่มีข้อใดถูกต้อง
  • ในการขอเลื่อนวิทยฐานะสำหรับผู้บริหารตามหลักเกณฑ์ของ ก.ค.ศ. ท่านในฐานะผู้บริหารจะต้องผ่านหลักเกณฑ์ด้านคุณสมบัติด้านใดบ้าง
    – ถูกทุกข้อ
  • ปัญหาอุปสรรคสำคัญในการนำสมรรถนะมาใช้ ได้แก่
    – ถูกทุกข้อ
  • “มีการทดลองวิธีการหรือจัดทำคู่มือประกอบการพัฒนางานใหม่ๆ โดยมีการจัดทำรายงานการพัฒนาที่เป็นรูปธรรมชัดเจน และมีการเผยแพร่ในวงกว้าง” เป็นเกณฑ์การประเมินในสมรรถนะใด
    – การมุ่งผลสัมฤทธิ์
  • ข้อใดเป็นเหตุผลความจำเป็นที่สำคัญที่สุดในการนำสมรรถนะมาใช้ในหน่วยราชการ
    – เพื่อให้การบริหารบุคลากรขององค์การดำเนินไปอย่างมีทิศทางและเพื่อพัฒนาสมรรถนะของข้าราชการและประสิทธิผลของหน่วยงานภาครัฐ
  • ข้อใดกล่าวได้ถูกต้องที่สุด
    – บุคคลที่มีสมรรถนะดีจะมุ่งเน้นที่การใช้ความรู้ ทักษะและคุณลักษณะอื่นๆ เพื่อช่วยให้เกิดผลสำเร็จที่ดีเลิศ
  • ข้อต่อไปนี้เป็นความสำคัญของสมรรถนะที่มีต่อการบริหารทรัพยากรบุคคล ยกเว้นข้อใด
    – ช่วยให้เกิดการแข่งขันระหว่างบุคลากรในการทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
  • ผลข้อใดจะเกิดขึ้นหากไม่มีการประเมินสมรรถนะบุคคล
    – ถูกทุกข้อ
  • การบริหารงานบุคคลเรื่องใดบ้างที่จำเป็นต้องใช้ “สมรรถนะ” เป็นเครื่องมือช่วยในการกำหนดจุดมุ่งหมายและแนวทางดำเนินการ
    – ถูกทุกข้อ
  • ข้อใดกล่าวได้อย่างถูกต้อง
    – Core Competency ถือเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กร
  • แนวทางการพัฒนาตนเองข้อใดที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาสมรรถนะการมุ่งผลสัมฤทธิ์
    – ถูกทุกข้อ
  • ข้อใดกล่าวได้อย่างชัดเจนที่สุดเกี่ยวกับสมรรถนะ
    – สมรรถนะเป็นทักษะ ความรู้และ ความสามารถ หรือพฤติกรรมของบุคลากร ที่จำเป็นในการปฏิบัติงานใดงานหนึ่ง
  • ข้อใดกล่าวได้ถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับการเลือกสมรรถนะที่จะพัฒนา
    – ควรพิจารณาหลักสูตรการพัฒนาให้สอดคล้องกับสมรรถนะที่ต้องการ
  • โปรดเรียงลำดับระดับของขีดความสามารถต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
    1. นำความรู้ใหม่ ๆ ในสายอาชีพมาปรับใช้เพื่อปรับปรุงวิธีการปฏิบัติงานของตนเองให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
    2. กระตือรือร้นในการแสวงหาความรู้และติดตามความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานอยู่เสมอ
    3. มองเห็นภาพรวมและความเชื่อมโยงของเรื่องต่าง ๆ และสามารถสรุปประเด็นสำคัญของเรื่องดังกล่าวได้
    4. สามารถปรับเปลี่ยนวิธีการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสมในสถานการณ์ที่หลากหลาย
    – 2 1 4 3
  • “การสังเกต” เป็นวิธีการในการหาข้อมูลของผู้ประเมินเพื่อประกอบการประเมินสมรรถนะใด
    – การพัฒนาศักยภาพของบุคลากร
  • หน่วยงานในข้อใดต่อไปนี้ที่ไม่ได้นำหลักการของสมรรถนะมาใช้
    – บริหารบุคลากรโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาองค์กร
  • การประเมินสมรรถนะสำหรับผู้บริหารวิทยฐานะเชี่ยวชาญจะต้องผ่านเกณฑ์การประเมินด้านคุณภาพการปฏิบัติงานอย่างไร
    – ได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 75

ที่มา : โอตะคุ น่ารักดี

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

ไฟเขียวก.ค.ศ.เป็นนิติบุคคล

ก.ค.ศ.

Print Friendly

นางศิริพร กิจเกื้อกูล เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(ก.ค.ศ.) เปิดเผยผลการประชุม ก.ค.ศ. เมื่อเร็ว ๆ นี้ว่า ที่ประชุมได้เห็นชอบการปรับปรุงโครงสร้างสำนักงาน ก.ค.ศ.ตามที่เสนอขอยกฐานะจากสำนักงานเทียบเท่ากรม มีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.)จะนำมติดังกล่าวไปหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาในรายละเอียดต่อไป

“การเป็นกรมที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล จะทำให้สำนักงาน ก.ค.ศ.บริหารงานได้คล่องตัวและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งเรื่องการทำนิติกรรมสัญญาได้โดยตรง การเสนอของบประมาณ การจัดกรอบอัตรากำลังที่สอดคล้องกับภาระงาน รวมถึงเรื่องความก้าวหน้าของบุคลากรด้วย”เลขาธิการ ก.ค.ศ. กล่าวและว่า เดิมก่อนที่จะมีการปรับโครงสร้างเป็นสำนักงาน ก.ค.ศ. มาเป็นรูปแบบปัจจุบัน ก.ค.ศ.มีอัตรากำลัง 413คนแต่หลังปรับโครงสร้างอัตรากำลังก็ลดลงเรื่อยๆ เนื่องจากการเกษียณอายุราชการและต้องยุบเลิกอัตรากำลังลงตามตัว ทำให้มีบุคลากรเหลือเพียง 260 คน ขณะที่ต้องดูแลข้าราชการครูตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา กว่า 4 แสนคน และต้องดูแลข้าราชการพลเรือนในสังกัด ศธ. ด้วย ดังนั้นหากมีฐานะเป็นนิติบุคคลก็จะสามารถทำเรื่องกำหนดอัตรากำลัง เพื่อชดเชยในส่วนที่ขาดอยู่ได้ และจะทำให้งานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น.

ที่มา :  เดลินิวส์

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

ผู้บริหารโรงเรียนที่ดีต้องปลอดทุจริต

โรงเรียน - ครูระยอง

Print Friendly

ดร.กมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(กพฐ.) เปิดเผยว่า จากการมอบนโยบายและแนวปฎิบัติเรื่องการรับนักเรียน ประจำปี 2558 ให้แก่โรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูงทั่วประเทศ เมื่อเร็ว ๆ นี้ ตนได้เน้นย้ำให้โรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูงเป็นผู้นำในการพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนเครือข่าย เพื่อช่วยยกระดับคุณภาพของโรงเรียนเหล่านั้นให้เป็นโรงเรียนดีใกล้บ้านครอบคลุมทุกพื้นที่ เพราะสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สะฐ.)ไม่ต้องการให้เด็กไทยมุ่งหวังที่จะเข้าแต่โรงเรียนดังเท่านั้น

เลขาธิการ กพฐ. กล่าวต่อไปว่า เนื่องจากโรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูงมีระบบการจัดการเรียนการสอนที่มีศักยภาพ และสามารถผลิตเด็กออกสู่สังคมได้อย่างมีคุณภาพ แสดงให้เห็นว่าโรงเรียนไม่มีปัญหาเรื่องระบบการทำงาน แต่เท่าที่ทราบบางโรงอาจมีจุดอ่อนเรื่องการบริหารจัดการ โดยเฉพาะเรื่องงบประมาณ ซึ่งถือเป็นจุดบกพร่องสำคัญที่เสี่ยงต่อการทุจริตได้ ดังนั้นจึงขอฝากผู้บริหารโรงเรียนทุกคนว่า การเป็นผู้บริหารสถานศึกษานอกจากจะต้องดูแลงานด้านวิชาการให้ดีแล้ว ยังต้องดูแลงานบริหารให้ดีด้วย ต้องเป็นผู้บริหารที่ดีมีคุณธรรม และปราศจากเรื่องทุจริตต่าง ๆ ที่สำคัญตนไม่อยากเห็นผู้บริหารโรงเรียนต้องทิ้งงาน เพื่อไปเอาใจผู้ใหญ่อย่างเดียว

“ทุกวันนี้สังคมคาดหวังกับเด็กค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะเป็นการสอบแบบทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือ โอเน็ต การสอบโครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ หรือ พิซ่า แม้กระทั่งเรื่องความประพฤติ ความมีระเบียบวินัย ดังนั้นผมจึงอยากให้ผู้บริหารสถานศึกษาและเขตพื้นที่การได้ช่วยกันวางรากฐานการขับเคลื่อนโรงเรียนสู่ความเป็นสากลให้ได้ เพราะสิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวช่วยการันตีให้สังคมได้รับรู้ว่า เราสามารถผลิตเด็กให้มีคุณภาพได้อย่างแน่นอน”ดร.กมลกล่าว

ที่มา : เดลินิวส์

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

คุรุสภาผ่อนปรนตั๋วครูสนองดำริพระเทพฯ

ครูระยอง-บัณฑิต ครู

Print Friendly

ศ.ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ ประธานกรรมการคุรุสภา ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำริเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ในสาขาขาดแคลน คุรุสภาควรให้บุคคลเหล่านี้เข้ามาเป็นครูได้ก่อน โดยไม่มีการปิดกั้นตั้งแต่ต้น และหากเป็นครูครบ 2 ปี แล้วยังไม่มีใบอนุญาตฯ ก็สามารถให้ออกจากระบบได้ และอยากให้คุรุสภาอนุญาตให้ผู้ที่จบสาขาขาดแคลนเข้ามาเป็นครูในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)ได้ ว่า คุรุสภาเตรียมแนวทางที่จะสนองพระราชดำริของสมเด็จพระเทพฯไว้ โดยจะใช้แนวทางเดียวกับการแก้ไขปัญหาขาดครูสาขาขาดแคลนของสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.) คือ เปิดให้ผู้จบในสาขาขาดแคลน ที่ไม่มีการเรียนการสอนในคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ หรือสาขาที่เปิดสอบบรรจุครูแล้วไม่มีผู้มาสมัครสอบ สามารถมาสมัครสอบบรรจุเป็นครูผู้ช่วยในสังกัด สพฐ.ได้ โดยคุรุสภาจะออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูชั่วคราว มีอายุ 90 วันให้ก่อน เพื่อนำมาสมัครสอบบรรจุและหากสอบได้ก็สามารถเป็นครูได้ แต่ทั้งนี้ภายใน 2 ปีจะต้องพัฒนาตนเอง เพื่อให้มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพต่อไป

“แนวทางดังกล่าวถือเป็นแนวทางที่ดี จะช่วยแก้ไขปัญหาความขาดแคลนครู โดยเฉพาะในโรงเรียนถิ่นทุรกันดารที่มีครูไม่มากได้ อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมวิชาชีพครูให้มีบทบาทกว้างขวางขึ้น และที่สำคัญยังเปิดโอกาสให้คนหลากหลายวิชาชีพได้มีโอกาสเข้ามาเป็นครูด้วย ซึ่งที่ผ่านมามีเสียงวิจารณ์มากว่าคุรุสภาผูกขาดวิชาชีพครู ไม่เปิดโอกาสให้คนวิชาชีพอื่นได้เข้ามาสู่วิชาชีพครู อย่างไรก็ตามคุรุสภาอยากให้ สพฐ.เสนอข้อมูลเรื่องครูสาขาขาดแคลนมายังคุรุสภา เพื่อนำไปสู่การจัดทำรายละเอียด และหากเป็นไปได้ผมจะนำเรื่องดังกล่าวเข้าหารือในที่ประชุมคุรุสภา วันที่ 18 ธันวาคมนี้ ”ศ.ดร.ไพฑูรย์ กล่าว.

ที่มา  :  เดลินิวส์

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

สพม.6 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 2 อัตรา

ครูระยอง-เรียกบรรจุ

Print Friendly

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย มารายงานตัว ในวันที่ 15 ธันวาคม 2557 เวลา 09.00-10.30 น. ณ กลุ่มบริหารงานบุคคล ชั้น 2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 วิชาเอกภาษาไทย จำนวน 2 อัตรา

สพม.6 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 2 อัตรา

สพม.6 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 2 อัตรา

>> รายละเอียด <<

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

สพป.สุรินทร์ เขต 3 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 3 อัตรา 2 กลุ่มวิชา

ครูระยอง-เรียกบรรจุ

Print Friendly

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย มารายงานตัว ในวันที่ 15 ธันวาคม 2557 เวลา 09.00-12.00 น. ณ กลุ่มบริหารงานบุคคล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 จำนวน 3 อัตรา 2 กลุ่มวิชา (ขอใช้บัญชีของ สพป.นครราชสีมา เขต 4) ดังนี้

  1. กลุ่มวิชาปฐมวัย จำนวน 1 อัตรา
  2. กลุ่มวิชานาฏศิลป์ จำนวน 2 อัตรา
สพป.สุรินทร์ เขต 3 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 3 อัตรา 2 กลุ่มวิชา

สพป.สุรินทร์ เขต 3 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 3 อัตรา 2 กลุ่มวิชา

>> รายละเอียด <<

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

Our partners from Mexico:
Productos de salud
Carlos Torre