UTQ-00103 การประกันคุณภาพ (โจทย์ใหม่)

เฉลย UTQplus - ครูระยอง

Print Friendly

UTQ-00103 การประกันคุณภาพ (โจทย์ใหม่)

  • แผนพัฒนาคุณภาพควรยึดอะไรเป็นฐาน (ตัวตั้ง)
    – มาตรฐานการศึกษา
  • ข้อใดคือประโยชน์ของการจัดทำรายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษาประจำปีของสถานศึกษา
    – นำผลไปใช้ปรับปรุงงาน วางแผนต่อๆไป
  • หากเปรียบกระบวนการพัฒนาคนในสถานศึกษาเหมือนการสร้างบ้าน ผู้ใดเปรียบเป็นสถาปนิก
    – ครู
  • ข้อใดกล่าวเกี่ยวกับการนำข้อเสนอแนะในการประเมินภายนอกและการประเมินตนเองประจำปีที่ผ่านมา มาใช้ในการวางแผนพัฒนาได้ถูกต้องที่สุด
    – ให้นำข้อเสนอแนะจากการประเมินคุณภาพภายนอกและจากรายงานการประเมินตนเองประจำปีมาดำเนินการทุกเรื่อง
  • ข้อใดคือ ความหมายของการประกันคุณภาพภายใน
    – การประเมินติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานของสถานศึกษาโดยหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษา
  • ข้อใด ไม่ใช่ ความหมายของมาตรฐานการศึกษา
    – ข้อกำหนดเพื่อใช้เป็นหลักในการการประกันคุณภาพภายนอก
  • ในรายงานการประเมินคุณภาพภายในประจำปี จะไม่มี เรื่องใด
    – การรับรอง / ไม่รับรองคุณภาพ
  • ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการกำหนดให้มีมาตรฐานการศึกษา
    – คุณภาพการจัดสถานศึกษาให้เป็นแหล่งชุมชนการเรียนรู้
  • ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับแนวทางการเขียนรายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษาประจำปีของสถานศึกษา
    – ระบุมาตรฐานการศึกษา
  • การดำเนินกิจกรรมเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้นโดยมีมาตรฐานการศึกษาของสถาน ศึกษาเป็นเป้าหมาย คือกระบวนการใดในระบบการประกันคุณภาพภายใน
    – การตรวจสอบคุณภาพ
  • สิ่งใดคือสิ่งที่สะท้อนคุณภาพการศึกษา
    – ถูกทุกข้อ
  • ข้อใดไม่ใช่ขั้นตอนของระบบการประกันคุณภาพ
    – การพัฒนาคุณภาพ
  • การกำหนดให้มีมาตรฐานการศึกษาเป็นการให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษา
    – ถูกทุกข้อ
  • เป้าประสงค์ของการประเมินผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนา คืออะไร
    – ทราบปัญหา อุปสรรค และแนวทางการพัฒนาคุณภาพ
  • จุดมุ่งหมายของการประกันคุณภาพภายใน คือข้อใด
    – การพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษา
  • “ครูใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมผนวกกับการนำบริบทและภูมิปัญญาของท้อง ถิ่นมาบูรณาการในการจัดการเรียนรู้” เป็นมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานด้านใด
    – มาตรฐานด้านการจัดการศึกษา
  • ปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามที่ต้องการคือข้อใด
    – ความสามารถของผู้เรียน
  • การประกันคุณภาพเป็นหน้าที่ของใครบ้าง
    – บุคลากรทุกคนในสถานศึกษา
  • ข้อใดกล่าวเกี่ยวกับการนำความต้องการของผู้เกี่ยวข้องมาใช้ในการวางแผนพัฒนา ถูกต้องที่สุด
    – ให้นำทุกเรื่องมาบูรณาการ กับสภาพปัจจุบัน ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ
  • การประเมินคุณภาพภายนอก เหมือนหรือต่างกันกับ การประกันคุณภาพภายใน อย่างไร
    – ต่างกัน เพราะการประเมินคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของการประกันคุณภาพภายนอก

ที่มา : โอตะคุ น่ารักดี

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

๊UTQ-02304 การพัฒนาสมรรถนะประจำสายงานและสมรรถนะหลักสำหรับผู้บริหาร

เฉลย UTQplus - ครูระยอง

Print Friendly

02304 การพัฒนาสมรรถนะประจำสายงานและสมรรถนะหลักสำหรับผู้บริหาร
จำนวนคำถาม : 25 ข้อ ได้ 19/25 : –

  • ตัวบ่งชี้ของสมรรถนะข้อใดไม่เข้าพวก
    – เกิดความพึงพอใจ
  • “ความคิดเชิงระบบในการแก้ปัญหาหรือพัฒนางาน”ถือเป็นตัวบ่งชี้ของสมรรถนะใด
    – การวิเคราะห์และสังเคราะห์
  • การศึกษาค้นคว้า หาความรู้ ติดตามองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในวงวิชาการและวิชาชีพเพื่อพัฒนาตนเองและพัฒนางาน คือสมรรถนะใด
    – การพัฒนาตนเอง
  • กฎ ระเบียบต่าง ๆ ต่อไปนี้เกี่ยวข้องในการนำสมรรถนะมาใช้ในระบบราชการ ยกเว้นข้อใด
    – พระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547
  • แนวทางการพัฒนาสมรรถนะต่อไปนี้ข้อใดสามารถโน้มน้าวให้ผู้อื่นเห็นด้วย ยอมรับคล้อยตาม เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายของการสื่อสาร
    – นำเสนอข้อมูลสารสนเทศด้านแนวคิด หลักวิชาการเพื่อให้ผู้อื่นคล้อยตาม
  • ความสามารถในการให้คำปรึกษา แนะนำ และช่วยเหลือปัญหาให้แก่เพื่อนร่วมงานและผู้เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมในการพัฒนาบุคลากร ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่าง รวมทั้งส่งเสริม สนับสนุนและให้โอกาสเพื่อนร่วมงานได้พัฒนาในรูปแบบต่างๆ คือสมรรถนะใด
    – การพัฒนาศักยภาพบุคลากร
  • ข้อใดเป็นตัวบ่งชี้ของสมรรถนะที่แตกต่างจากข้ออื่น
    – เกิดจากกระบวนการคิดเชิงระบบ
  • คุณลักษณะของบุคคลในต่อไปนี้ข้อใดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของบุคคลและสามารถพัฒนาได้ยากที่สุด
    – ค่านิยม
  • การประเมินที่ดีควรมีลักษณะต่อไปนี้ ยกเว้นข้อใด
    – ไม่มีข้อใดถูกต้อง
  • ในการขอเลื่อนวิทยฐานะสำหรับผู้บริหารตามหลักเกณฑ์ของ ก.ค.ศ. ท่านในฐานะผู้บริหารจะต้องผ่านหลักเกณฑ์ด้านคุณสมบัติด้านใดบ้าง
    – ถูกทุกข้อ
  • ปัญหาอุปสรรคสำคัญในการนำสมรรถนะมาใช้ ได้แก่
    – ถูกทุกข้อ
  • “มีการทดลองวิธีการหรือจัดทำคู่มือประกอบการพัฒนางานใหม่ๆ โดยมีการจัดทำรายงานการพัฒนาที่เป็นรูปธรรมชัดเจน และมีการเผยแพร่ในวงกว้าง” เป็นเกณฑ์การประเมินในสมรรถนะใด
    – การมุ่งผลสัมฤทธิ์
  • ข้อใดเป็นเหตุผลความจำเป็นที่สำคัญที่สุดในการนำสมรรถนะมาใช้ในหน่วยราชการ
    – เพื่อให้การบริหารบุคลากรขององค์การดำเนินไปอย่างมีทิศทางและเพื่อพัฒนาสมรรถนะของข้าราชการและประสิทธิผลของหน่วยงานภาครัฐ
  • ข้อใดกล่าวได้ถูกต้องที่สุด
    – บุคคลที่มีสมรรถนะดีจะมุ่งเน้นที่การใช้ความรู้ ทักษะและคุณลักษณะอื่นๆ เพื่อช่วยให้เกิดผลสำเร็จที่ดีเลิศ
  • ข้อต่อไปนี้เป็นความสำคัญของสมรรถนะที่มีต่อการบริหารทรัพยากรบุคคล ยกเว้นข้อใด
    – ช่วยให้เกิดการแข่งขันระหว่างบุคลากรในการทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
  • ผลข้อใดจะเกิดขึ้นหากไม่มีการประเมินสมรรถนะบุคคล
    – ถูกทุกข้อ
  • การบริหารงานบุคคลเรื่องใดบ้างที่จำเป็นต้องใช้ “สมรรถนะ” เป็นเครื่องมือช่วยในการกำหนดจุดมุ่งหมายและแนวทางดำเนินการ
    – ถูกทุกข้อ
  • ข้อใดกล่าวได้อย่างถูกต้อง
    – Core Competency ถือเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กร
  • แนวทางการพัฒนาตนเองข้อใดที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาสมรรถนะการมุ่งผลสัมฤทธิ์
    – ถูกทุกข้อ
  • ข้อใดกล่าวได้อย่างชัดเจนที่สุดเกี่ยวกับสมรรถนะ
    – สมรรถนะเป็นทักษะ ความรู้และ ความสามารถ หรือพฤติกรรมของบุคลากร ที่จำเป็นในการปฏิบัติงานใดงานหนึ่ง
  • ข้อใดกล่าวได้ถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับการเลือกสมรรถนะที่จะพัฒนา
    – ควรพิจารณาหลักสูตรการพัฒนาให้สอดคล้องกับสมรรถนะที่ต้องการ
  • โปรดเรียงลำดับระดับของขีดความสามารถต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
    1. นำความรู้ใหม่ ๆ ในสายอาชีพมาปรับใช้เพื่อปรับปรุงวิธีการปฏิบัติงานของตนเองให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
    2. กระตือรือร้นในการแสวงหาความรู้และติดตามความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานอยู่เสมอ
    3. มองเห็นภาพรวมและความเชื่อมโยงของเรื่องต่าง ๆ และสามารถสรุปประเด็นสำคัญของเรื่องดังกล่าวได้
    4. สามารถปรับเปลี่ยนวิธีการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสมในสถานการณ์ที่หลากหลาย
    – 2 1 4 3
  • “การสังเกต” เป็นวิธีการในการหาข้อมูลของผู้ประเมินเพื่อประกอบการประเมินสมรรถนะใด
    – การพัฒนาศักยภาพของบุคลากร
  • หน่วยงานในข้อใดต่อไปนี้ที่ไม่ได้นำหลักการของสมรรถนะมาใช้
    – บริหารบุคลากรโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาองค์กร
  • การประเมินสมรรถนะสำหรับผู้บริหารวิทยฐานะเชี่ยวชาญจะต้องผ่านเกณฑ์การประเมินด้านคุณภาพการปฏิบัติงานอย่างไร
    – ได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 75

ที่มา : โอตะคุ น่ารักดี

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

ไฟเขียวก.ค.ศ.เป็นนิติบุคคล

ก.ค.ศ.

Print Friendly

นางศิริพร กิจเกื้อกูล เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(ก.ค.ศ.) เปิดเผยผลการประชุม ก.ค.ศ. เมื่อเร็ว ๆ นี้ว่า ที่ประชุมได้เห็นชอบการปรับปรุงโครงสร้างสำนักงาน ก.ค.ศ.ตามที่เสนอขอยกฐานะจากสำนักงานเทียบเท่ากรม มีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.)จะนำมติดังกล่าวไปหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาในรายละเอียดต่อไป

“การเป็นกรมที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล จะทำให้สำนักงาน ก.ค.ศ.บริหารงานได้คล่องตัวและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งเรื่องการทำนิติกรรมสัญญาได้โดยตรง การเสนอของบประมาณ การจัดกรอบอัตรากำลังที่สอดคล้องกับภาระงาน รวมถึงเรื่องความก้าวหน้าของบุคลากรด้วย”เลขาธิการ ก.ค.ศ. กล่าวและว่า เดิมก่อนที่จะมีการปรับโครงสร้างเป็นสำนักงาน ก.ค.ศ. มาเป็นรูปแบบปัจจุบัน ก.ค.ศ.มีอัตรากำลัง 413คนแต่หลังปรับโครงสร้างอัตรากำลังก็ลดลงเรื่อยๆ เนื่องจากการเกษียณอายุราชการและต้องยุบเลิกอัตรากำลังลงตามตัว ทำให้มีบุคลากรเหลือเพียง 260 คน ขณะที่ต้องดูแลข้าราชการครูตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา กว่า 4 แสนคน และต้องดูแลข้าราชการพลเรือนในสังกัด ศธ. ด้วย ดังนั้นหากมีฐานะเป็นนิติบุคคลก็จะสามารถทำเรื่องกำหนดอัตรากำลัง เพื่อชดเชยในส่วนที่ขาดอยู่ได้ และจะทำให้งานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น.

ที่มา :  เดลินิวส์

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

ผู้บริหารโรงเรียนที่ดีต้องปลอดทุจริต

โรงเรียน - ครูระยอง

Print Friendly

ดร.กมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(กพฐ.) เปิดเผยว่า จากการมอบนโยบายและแนวปฎิบัติเรื่องการรับนักเรียน ประจำปี 2558 ให้แก่โรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูงทั่วประเทศ เมื่อเร็ว ๆ นี้ ตนได้เน้นย้ำให้โรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูงเป็นผู้นำในการพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนเครือข่าย เพื่อช่วยยกระดับคุณภาพของโรงเรียนเหล่านั้นให้เป็นโรงเรียนดีใกล้บ้านครอบคลุมทุกพื้นที่ เพราะสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สะฐ.)ไม่ต้องการให้เด็กไทยมุ่งหวังที่จะเข้าแต่โรงเรียนดังเท่านั้น

เลขาธิการ กพฐ. กล่าวต่อไปว่า เนื่องจากโรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูงมีระบบการจัดการเรียนการสอนที่มีศักยภาพ และสามารถผลิตเด็กออกสู่สังคมได้อย่างมีคุณภาพ แสดงให้เห็นว่าโรงเรียนไม่มีปัญหาเรื่องระบบการทำงาน แต่เท่าที่ทราบบางโรงอาจมีจุดอ่อนเรื่องการบริหารจัดการ โดยเฉพาะเรื่องงบประมาณ ซึ่งถือเป็นจุดบกพร่องสำคัญที่เสี่ยงต่อการทุจริตได้ ดังนั้นจึงขอฝากผู้บริหารโรงเรียนทุกคนว่า การเป็นผู้บริหารสถานศึกษานอกจากจะต้องดูแลงานด้านวิชาการให้ดีแล้ว ยังต้องดูแลงานบริหารให้ดีด้วย ต้องเป็นผู้บริหารที่ดีมีคุณธรรม และปราศจากเรื่องทุจริตต่าง ๆ ที่สำคัญตนไม่อยากเห็นผู้บริหารโรงเรียนต้องทิ้งงาน เพื่อไปเอาใจผู้ใหญ่อย่างเดียว

“ทุกวันนี้สังคมคาดหวังกับเด็กค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะเป็นการสอบแบบทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือ โอเน็ต การสอบโครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ หรือ พิซ่า แม้กระทั่งเรื่องความประพฤติ ความมีระเบียบวินัย ดังนั้นผมจึงอยากให้ผู้บริหารสถานศึกษาและเขตพื้นที่การได้ช่วยกันวางรากฐานการขับเคลื่อนโรงเรียนสู่ความเป็นสากลให้ได้ เพราะสิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวช่วยการันตีให้สังคมได้รับรู้ว่า เราสามารถผลิตเด็กให้มีคุณภาพได้อย่างแน่นอน”ดร.กมลกล่าว

ที่มา : เดลินิวส์

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

คุรุสภาผ่อนปรนตั๋วครูสนองดำริพระเทพฯ

ครูระยอง-บัณฑิต ครู

Print Friendly

ศ.ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ ประธานกรรมการคุรุสภา ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำริเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ในสาขาขาดแคลน คุรุสภาควรให้บุคคลเหล่านี้เข้ามาเป็นครูได้ก่อน โดยไม่มีการปิดกั้นตั้งแต่ต้น และหากเป็นครูครบ 2 ปี แล้วยังไม่มีใบอนุญาตฯ ก็สามารถให้ออกจากระบบได้ และอยากให้คุรุสภาอนุญาตให้ผู้ที่จบสาขาขาดแคลนเข้ามาเป็นครูในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)ได้ ว่า คุรุสภาเตรียมแนวทางที่จะสนองพระราชดำริของสมเด็จพระเทพฯไว้ โดยจะใช้แนวทางเดียวกับการแก้ไขปัญหาขาดครูสาขาขาดแคลนของสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.) คือ เปิดให้ผู้จบในสาขาขาดแคลน ที่ไม่มีการเรียนการสอนในคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ หรือสาขาที่เปิดสอบบรรจุครูแล้วไม่มีผู้มาสมัครสอบ สามารถมาสมัครสอบบรรจุเป็นครูผู้ช่วยในสังกัด สพฐ.ได้ โดยคุรุสภาจะออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูชั่วคราว มีอายุ 90 วันให้ก่อน เพื่อนำมาสมัครสอบบรรจุและหากสอบได้ก็สามารถเป็นครูได้ แต่ทั้งนี้ภายใน 2 ปีจะต้องพัฒนาตนเอง เพื่อให้มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพต่อไป

“แนวทางดังกล่าวถือเป็นแนวทางที่ดี จะช่วยแก้ไขปัญหาความขาดแคลนครู โดยเฉพาะในโรงเรียนถิ่นทุรกันดารที่มีครูไม่มากได้ อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมวิชาชีพครูให้มีบทบาทกว้างขวางขึ้น และที่สำคัญยังเปิดโอกาสให้คนหลากหลายวิชาชีพได้มีโอกาสเข้ามาเป็นครูด้วย ซึ่งที่ผ่านมามีเสียงวิจารณ์มากว่าคุรุสภาผูกขาดวิชาชีพครู ไม่เปิดโอกาสให้คนวิชาชีพอื่นได้เข้ามาสู่วิชาชีพครู อย่างไรก็ตามคุรุสภาอยากให้ สพฐ.เสนอข้อมูลเรื่องครูสาขาขาดแคลนมายังคุรุสภา เพื่อนำไปสู่การจัดทำรายละเอียด และหากเป็นไปได้ผมจะนำเรื่องดังกล่าวเข้าหารือในที่ประชุมคุรุสภา วันที่ 18 ธันวาคมนี้ ”ศ.ดร.ไพฑูรย์ กล่าว.

ที่มา  :  เดลินิวส์

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

สพม.6 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 2 อัตรา

ครูระยอง-เรียกบรรจุ

Print Friendly

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย มารายงานตัว ในวันที่ 15 ธันวาคม 2557 เวลา 09.00-10.30 น. ณ กลุ่มบริหารงานบุคคล ชั้น 2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 วิชาเอกภาษาไทย จำนวน 2 อัตรา

สพม.6 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 2 อัตรา

สพม.6 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 2 อัตรา

>> รายละเอียด <<

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

สพป.สุรินทร์ เขต 3 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 3 อัตรา 2 กลุ่มวิชา

ครูระยอง-เรียกบรรจุ

Print Friendly

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย มารายงานตัว ในวันที่ 15 ธันวาคม 2557 เวลา 09.00-12.00 น. ณ กลุ่มบริหารงานบุคคล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 จำนวน 3 อัตรา 2 กลุ่มวิชา (ขอใช้บัญชีของ สพป.นครราชสีมา เขต 4) ดังนี้

  1. กลุ่มวิชาปฐมวัย จำนวน 1 อัตรา
  2. กลุ่มวิชานาฏศิลป์ จำนวน 2 อัตรา
สพป.สุรินทร์ เขต 3 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 3 อัตรา 2 กลุ่มวิชา

สพป.สุรินทร์ เขต 3 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 3 อัตรา 2 กลุ่มวิชา

>> รายละเอียด <<

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

ก.ค.ศ.เห็นชอบหลักเกณฑ์ความก้าวหน้าบุคลากรทางการศึกษาอื่น 38ค.(2)

คณกรรมกระทรวงศึกษาธิการ

Print Friendly

พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 13/2557 เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2557 ที่ห้องประชุมสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ว่าที่ประชุมได้เห็นชอบหลักเกณฑ์ฯ ปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งระดับชำนาญการพิเศษ และแก้ไขกฎ ก.ค.ศ. เกี่ยวกับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง ของบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค.(2) ในเขตพื้นที่การศึกษา

  • เห็นชอบร่างหลักเกณฑ์และวิธีการปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งให้เป็นตำแหน่งที่มีระดับสูงขึ้น ตามกรอบอัตรากำลัง สำหรับตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค.(2) ตำแหน่งประเภทวิชาการ ให้เป็นระดับชำนาญการพิเศษ ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โดยมีหลักการสำคัญดังนี้
  1. ต้องไม่เปลี่ยนประเภทตำแหน่งและสายงาน
  2. ต้องเป็นไปตาม กฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการจัดประเภทตำแหน่ง ระดับตำแหน่ง การให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค.(2) และมาตรฐานตำแหน่งของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค.(2)
  3. จะดำเนินการได้เมื่อได้จัดข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค.(2) ให้ดำรงตำแหน่งตามกรอบอัตรากำลังใหม่ และ ก.ค.ศ.รับทราบคำสั่งแล้ว
  4. ให้ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา เป็นผู้พิจารณาลักษณะหน้าที่และความรับผิดชอบ ปริมาณงาน คุณภาพของงาน และความยุ่งยากในงานของตำแหน่ง หากเพิ่มขึ้นหรือเปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญ ต้องจัดให้มีการประเมินคุณภาพงานของตำแหน่งตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนด
  5. ให้มีกรรมการประเมินค่างาน รวม 3 คน เกณฑ์ผ่านการประเมินค่างาน ต้องมีผลการประเมินของกรรมการแต่ละคนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของคะแนนเต็ม หากไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินสามารถขอรับการประเมินได้ใหม่ในอีก 1 ปีต่อไป
  6. เมื่อ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา พิจารณาให้ปรับระดับตำแหน่งใดเป็นระดับชำนาญการพิเศษ ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา 53 ดำเนินการคัดเลือกและประเมิน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1006/ ว10 ลงวันที่ 15 กันยายน 2548
  7. การแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว ตามข้อ 6 ไม่ผูกพันกับผู้ดำรงตำแหน่งอยู่เดิม
  • เห็นชอบให้มีการแก้ไขกฎ ก.ค.ศ. การจัดประเภทตำแหน่ง ระดับ ตำแหน่ง การให้ได้รับเงินเดือน และเงินประจำตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่น ตามมาตรา 38 ค.(2) โดย
  1. ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการและระดับชำนาญการพิเศษ เดิมกำหนดไว้ 2 สายงาน คือ สายงานพยาบาลวิชาชีพ และ สายงานวิชาการคอมพิวเตอร์ จึงได้กำหนดเพิ่มเติมสายงานอื่นที่ ก.ค.ศ. กำหนด ทั้งนี้เพื่อรองรับตำแหน่งในสายงานอื่นที่อาจเกิดขึ้นภายหลัง เพื่อประโยชน์ในการรับเงินประจำตำแหน่ง
  2. ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญ เดิมกำหนดไว้ 3 สายงาน คือ สายงานนิติการ สายงานวิเคราะห์นโยบายและแผน และสายงานวิชาการศึกษา ในครั้งนี้กำหนดเพิ่ม สายงานทรัพยากรบุคคล

ที่มา : moe

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

แนะฟื้นสัมพันธภาพที่ดีระหว่างครู-นักเรียน จี้ปรับโฉมการเรียนรู้ในชั้น

ปฏิรูป นโยบายของการศึกษาไทย

Print Friendly

จากการเสวนาปฏิรูปการเรียนรู้สู่การศึกษาเพื่อคนทั้งมวล เรื่อง “ไขกุญแจการปฏิรูปการศึกษาไทย : หัวใจสำคัญคือความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูกับเด็ก” จัดโดยสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่า ระบบ การศึกษาไทยกำลังถูกสึนามิการเปลี่ยนแปลง ทั้งปัญหาสังคม พ่อแม่ไม่อยู่บ้าน ไม่มีเวลา เด็กกำพร้าเทียม ทุกอย่างเป็นดิจิตอลเข้าถึงข้อมูลง่าย ผลพวงก่อให้เกิดการอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ กุญแจสำคัญของการปฏิรูปการศึกษาต้องเกิดการเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้ในชั้นเรียน ซึ่งอยู่ที่ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูและนักเรียน และถือเป็นหัวใจสำคัญของการศึกษาตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว

นพ.ธีระเกียรติกล่าวอีกว่า ระบบการศึกษาและหลักสูตรการเรียนการสอนของไทยเป็นอุปสรรคที่ขวางกั้นความสัมพันธ์ระหว่างครูกับเด็ก ไม่เอื้อต่อการสอนของครูและไม่เป็นไปตามพัฒนาการของเด็กในแต่ละช่วงวัย ดังนั้น มูลนิธิยุวสถิรคุณจึงน้อมนำพระราชดำรัสมาเป็นหัวใจของการปฏิรูป ผสมผสานงานวิจัยด้านการศึกษาระดับโลกของศาสตราจารย์แฮตตี้ จนได้รูปแบบการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพสูงต่อการพัฒนาการศึกษา โดยมีโรงเรียนพันธมิตร 4 แห่งที่นำรูปแบบดังกล่าวไปทดลองใช้ คือ ร.ร.จิตรลดา ร.ร.วัดรางบัว ร.ร.สัตยาไส และ ร.ร.บางมูลนาก ซึ่งผลที่เกิดขึ้นใน 4 โรงเรียนยืนยันถึงความสำเร็จของแนวทางการสอนดังกล่าวได้เป็นอย่างดี

ด้าน ศ.กิตติคุณ สุมน อมรวิวัฒน์ ราชบัณฑิต กล่าวว่า การศึกษาต้องเน้นสัมพันธภาพตามแนวพระราชดำริ ให้คนได้เรียนรู้ซึ่งกันและกัน สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ทุกคนรู้จักกันและทำให้เกิดเครือข่ายความสัมพันธ์ ส่วนผลสัมฤทธิ์ที่เกิดขึ้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น และเรื่องสุดท้ายที่เน้นมากคือ สัมพันธภาพในวงการศึกษา เพราะขณะนี้คนที่มีส่วนเกี่ยวข้องแยกจากกัน หรือแม้กระทั่งหลักสูตรและการเรียนรู้ ของเด็กยุคไอทีก็แยกเด็กจากพ่อแม่ และครู.

ที่มา : ไทยรัฐ

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

สพม.13 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 2 อัตรา 2 กลุ่มวิชา

ครูระยอง-เรียกบรรจุ

Print Friendly

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 13 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย มารายงานตัว ในวันที่ 8 ธันวาคม 2557 เวลา 09.00-10.00 น. ณ ห้องประชุมสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 13 จำนวน 2 อัตรา 2 กลุ่มวิชา ดังนี้

  1. กลุ่มวิชาภาษาอังกฤษ จำนวน 1 อัตรา
  2. กลุ่มวิชาภาษาไทย จำนวน 1 อัตรา
สพม.13 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 2 อัตรา 2 กลุ่มวิชา

สพม.13 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 2 อัตรา 2 กลุ่มวิชา

>> รายละเอียด <<

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

Our partners from Mexico:
Productos de salud
Carlos Torre