ชี้ชะลอประเมินกระทบคุณภาพ

สมศ

Print Friendly

ผศ.จำรูญ ณ ระนอง นักวิชาการอิสระ กล่าวถึงกรณีที่ ดร.กมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เสนอให้สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) หยุดการประเมินคุณภาพภายนอกเป็นเวลา 3 ปี เพื่อปรับปรุงวิธีการประเมินให้เหมาะสมว่า หากให้มีการหยุด หรือชะลอการประเมิน จะยิ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพการศึกษา อีกทั้งทั่วโลกต่างยอมรับว่าคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษาจะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อสถานศึกษามีการประกันคุณภาพภายใน มีการควบคุมด้วยตนเอง และต้นสังกัด นอกจากนี้ต้องมีการตรวจสอบจากภายนอก เพื่อยืนยันสภาพที่เป็นจริง ดังนั้นการประเมิน โดย สมศ. จึงเป็นสิ่งปลุกเร้าให้สถานศึกษาต้องทำให้มีการประกันคุณภาพภายในที่เข้มแข็งและต่อเนื่อง เพื่อส่งผลให้การศึกษาได้รับการพัฒนาอย่างแท้จริง

“การที่นักการศึกษาบางกลุ่มต้องการพัฒนาการศึกษา โดยเสนอให้ยุบ หรือระงับการปฏิบัติหน้าที่ของ สมศ. นั้น เป็นการแก้ปัญหาแบบหลงทาง มองไม่ออกว่าอันใดเป็นเหตุเป็นผลหรือพูดง่ายๆ ว่า เกาไม่ถูกที่คัน ทั้งนี้ การแก้ปัญหาที่ถูกต้องทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันสนับสนุนให้สถานศึกษาได้มีการประกันคุณภาพภายในที่เข้มแข็ง และต่อเนื่อง ถึงจะทำให้สถานศึกษามีคุณภาพอย่างแท้จริง” ผศ.จำรูญ กล่าวต่อไปว่า ส่วนการที่จะปรับการประเมิน ของ สมศ. จากประเมินสถานศึกษาทุกแห่ง เป็นแบบสุ่มตรวจประเมินสถานศึกษาบางแห่งนั้น ตนมองว่าจะไม่สามารถบอกได้เลยว่าสถานศึกษาที่ไม่ได้รับการประเมินมีคุณภาพอย่างไร มีจุดใดบ้างที่เป็นจุดอ่อนที่ต้องพัฒนา และจะต้องพัฒนาอย่างไร ดังนั้น จึงอยากให้ทบทวนในเรื่องนี้ด้วย.

ที่มา : เดลินิวส์

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

สพฐ.แจ้งระยะเวลาสิ้นสุดการค้ำประกันเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต)

สถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

Print Friendly

ตามที่ สพฐ. ได้ทำสัญญาซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต) โซนที่ 1 (ภาคกลางและภาคใต้) เครื่องนักเรียนป.1 /โซนที่ 2 (ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) เครื่องนักเรียนป.1 /โซนที่ 3 (ภาคกลางและภาคใต้) เครื่องครูและนักเรียน ม.1
สพฐ. จึงขอแจ้งระยะเวลาการค้ำประกันในแต่ละโซนดังนี้

  1. โซนที่ 1 (ภาคกลางและภาคใต้) ระยะเวลาการค้ำประกันตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2557 ถึงวันที่ 15 กันยายน 2558
  2. โซนที่ 2 (ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ระยะเวลาการค้ำประกันตั้งแต่วันที่ 21 กรกฏาคม 2557 ถึงวันที่ 21 กรกฏาคม 2558
  3. โซนที่ 3 (ภาคกลางและภาคใต้) ระยะเวลาการค้ำประกันตั้งแต่วันที่ 30 พฤษภาคม 2557 ถึงวันที่ 30 พฤษภาคม 2558

>> รายละเอียด <<

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

รื้อโครงสร้างศธ. คำตอบ…ปฏิรูปการศึกษาไทย?

Print Friendly

เริ่มเห็นเค้าโครงร่างการปฏิรูปการศึกษารอบใหม่ว่าจะออกมาเช่นไร ตามแนวทางของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ในยุค พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย เป็นรัฐมนตรีว่าการ ศธ.

ล่าสุด พล.ร.อ.ณรงค์ได้ลงนามคำสั่งแต่งตั้ง คณะกรรมการอำนวยการปฏิรูปการศึกษา ศธ. มีผู้ทรงคุณวุฒิที่คุ้นชื่อกันดีในวงการศึกษาหลายท่านมาร่วมเป็นกรรมการ อาทิ นายพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ประธานคณะกรรมาธิการการปฏิรูปการศึกษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)

นายวรากรณ์ สามโกเศศ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการ ศธ. นางสิริกร มณีรินทร์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการ ศธ. เป็นต้น

แนวทางหลักที่จะมีการนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการอำนวยการปฏิรูปในวันที่ 17 ธันวาคม ตามที่ นายพินิติ รตะนานุกูล เลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ระบุ จะประกอบด้วย 3 เรื่องหลัก คือ การปฏิรูปเชิงนโยบาย การปฏิรูปการบริหารจัดการ การปฏิรูปการเรียนรู้ และยังมีรายละเอียดอื่นๆ ที่รวมข้อเสนอการปรับโครงสร้างของ ศธ.อยู่ด้วย

สิ่งที่ชัดเจนที่สุดของการปฏิรูปการศึกษารอบใหม่ในขณะนี้ คือ การปรับโครงสร้าง ศธ.ใหม่ ซึ่งได้ข้อสรุปเบื้องต้นว่า สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จะปรับเป็นทบวงการอาชีวศึกษา มีฐานะเป็นทบวงสังกัด ศธ. เพื่อให้การทำงานเชื่อมต่อกับการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยได้อย่างเป็นเอกภาพ การให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) กลับไปเป็นทบวงมหาวิทยาลัย และให้สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาไปขึ้นตรงกับนายกรัฐมนตรี

ในขณะที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) หน่วยงานหลักที่ดูแลนักเรียนเกือบ 8 ล้าน นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ได้ออกมาแสดงความชัดเจนว่า เตรียมเสนอปรับโครงสร้างเช่นเดียวกัน โดยต้องการเป็นทบวงการศึกษาขั้นพื้นฐาน ยุบหน่วยงานต่างๆ ภายใน สพฐ.รวมเป็น 4 กรม ประกอบด้วย กรมประถมศึกษา กรมมัธยมศึกษา กรมวิชาการและมาตรฐานการศึกษาและกรมการศึกษาคนพิการ ด้อยโอกาส และเด็กอัจฉริยะ

การปฏิรูปการศึกษารอบใหม่นี้ถือว่าห่างจากการปฏิรูปการศึกษารอบแรกประมาณปี 2547 เกือบ 11 ปีมาแล้ว ในครั้งนั้นมีการยกเครื่องโครงสร้าง ศธ.ใหม่ทั้งหมด หากยังจำกันได้ว่าหน่วยงานเก่าๆ ที่ตั้งกันมานานถูกยุบเป็นหน่วยงานใหม่ในปัจจุบัน เช่น การยุบรวมกรมวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (สปช.) กรมสามัญศึกษามาเป็น สพฐ. การยกกรมอาชีวศึกษาขึ้นมาเป็น สอศ. การยุบทบวงมหาวิทยาลัย มาเป็น สกอ. เป็นต้น

โดยการปรับโครงสร้างในครั้งนั้นเพื่อให้มีความกระชับทำให้ ศธ.มีขนาดที่เล็กลง เน้นการ กระจายอำนาจไปยังส่วนภูมิภาค และคาดหวังกันว่าจะทำให้คุณภาพการศึกษาของไทยดีขึ้น แต่จากผลสะท้อนต่างๆ ที่ออกมาทั้งการประเมินในประเทศและระดับนานาชาติ เช่น ผลคะแนนทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) ที่ไม่ผ่านเกณฑ์เพียบ หรือข้อมูลเปรียบเทียบดัชนีคุณภาพการศึกษา 144 ประเทศทั่วโลกของเวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรั่ม (WEF) ที่ไทยเกือบรั้งท้ายประเทศกลุ่มอาเซียน

สามารถชี้ชัดได้ว่าโครงสร้างไม่ได้มีส่วนให้ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของเด็กไทยดีขึ้น แต่หัวใจสำคัญของการศึกษาอยู่ที่ ครู หลักสูตรการศึกษา และกระบวนการจัดการเรียนการสอน

ฉะนั้นหากการปฏิรูปการศึกษารอบใหม่ยังใช้โครงสร้างเป็นตัวนำ แล้วก็น่าคิดว่าจะคาดหวังในคุณภาพการศึกษาไทยได้มากน้อย แค่ไหน และจะเกิดคำถามตามมาว่า โครงสร้าง คือคำตอบของการปฏิรูปการศึกษา รอบนี้หรือไม่?

โดย : สุพัด ทีปะลา [email protected]
ที่มา : moe

อบจ.ระยองรับสมัครพนักงานจ้าง 103 อัตรา

Print Friendly

องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง จะดําเนินการสรรหาและเลือกสรรบุคคลเพื่อเป็นพนักงานจ้างประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 ในตําแหน่งต่างๆ จํานวน 30 ตําแหน่ง รวมทั้งสิ้น 103 อัตราดังนี้

1. ตําแหน่ง ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายใน จํานวน 3 อัตรา

เงินเดือน 15,000 บาท

คุณสมบัติเฉพาะตําแหน่ง ได้รับปริญญาตรีหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางบัญชี พาณิชยศาสตร์ หรือทางอื่นที่ ก.จ.รับรองว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งนี้ได้

2. ตําแหน่ง ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป จํานวน 2 อัตรา

เงินเดือน 15,000 บาท

คุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่ง ได้รับปริญญาตรีหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทุกสาขาที่ ก.จ. รับรองว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งนี้ได้

3. ตําแหน่ง ผู้ช่วยนักวิชาการส่งเสริมสุขภาพ จํานวน 3 อัตรา

เงินเดือน 15,000 บาท

คุณสมบัติเฉพาะตําแหน่ง ได้รับปริญญาตรีหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางสาธารณสุขศาสตร์ การพยาบาล สุขศึกษาหรือทางอื่นที่ก.จ. กําหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งนี้ได้

4. ตําแหน่ง ผู้ช่วยนักวิชาการศึกษา จํานวน 1 อัตรา

เงินเดือน 15,000 บาท

คุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่ง ได้รับปริญญาตรีหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางการศึกษา หรือสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ หรือคุณวุฒิอื่นที่ ก.จ. รับรองให้บรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานครูอบจ. ได้ หรือคุณวุฒิอื่นที่ ก.จ. กําหนดเป็นคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งนี้

5. ตําแหน่ง ผู้ช่วยบรรณารักษ์ จํานวน 1 อัตรา

เงินเดือน 15,000 บาท

คุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่ง ได้รับปริญญาตรี หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางบรรณารักษ์ศาสตร์ สารนิเทศศาสตร์หรือทางอื่นที่ก.จ. รับรองว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งนี้ได้

6. ตําแหน่ง ผู้ช่วยครู จํานวน 7 อัตรา

เงินเดือน 15,000 บาท

คุณสมบัติเฉพาะตําแหน่ง

1. มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ หรือทางอื่นที่ ก.จ.กําหนดเป็นคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งในกลุ่มวิชา ดังนี้

– ผู้ช่วยครู กลุ่มวิชาหรือทาง หรือสาขาวิชาเอกสังคมศึกษา จํานวน 1 อัตรา

– ผู้ช่วยครู กลุ่มวิชาหรือทาง หรือสาขาวิชาเอกสุขศึกษาและพลศึกษา จํานวน 1 อัตรา

– ผู้ช่วยครู กลุ่มวิชาหรือทาง หรือสาขาวิชาเอกศิลปะ จํานวน 2 อัตรา

– ผู้ช่วยครู กลุ่มวิชาหรือทาง หรือสาขาวิชาเอกนาฏศิลป์ จํานวน 1 อัตรา

– ผู้ช่วยครู กลุ่มวิชาหรือทาง หรือสาขาวิชาเอกอุตสาหกรรม จํานวน 1 อัตรา

– ผู้ช่วยครู กลุ่มวิชาหรือทาง หรือสาขาวิชาเอกภาษาไทย จํานวน 1 อัตรา

2. มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู หรือใบอนุญาตปฏิบัติการสอน หรือหนังสืออนุญาตปฏิบัติการสอน หรือหนังสือรับรองสิทธิ ที่คุรุสภาออกให้

7. ตําแหน่ง ผู้ช่วยเจ้าพนักงานการเงินและบัญชี จํานวน 1 อัตรา

ได้รับค่าตอบแทนเดือนละ 11,500 บาท

คุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่ง ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางบัญชี พาณิชยการ เลขานุการ การบริหารธุรกิจ การจัดการทั่วไป สําหรับทางการบริหารธุรกิจ การจัดการทั่วไป จะต้องมี การศึกษาวิชาบัญชีไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิจ หรือทางอื่นที่ ก.จ. รับรองว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสําหรับ

ตําแหน่งนี้ได้
8. ตําแหน่ง ผู้ช่วยเจ้าพนักงานพัสดุ จํานวน 3 อัตรา

ได้รับค่าตอบแทนเดือนละ 11,500 บาท

คุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่ง ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ ทางบัญชี เลขานุการเทคนิคการตลาด การธนาคาร และธุรกิจการเงิน เทคนิควิศวกรรมโยธา เทคนิคเขียนแบบ วิศวกรรมเครื่องกล พาณิชยการ บริหารธุรกิจ การจัดการทั่วไป ช่างโยธา ช่างก่อสร้าง ช่างเครื่องกล หรือทางอื่นที่ ก.จ.รับรองว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งนี้ได้

9. ตําแหน่ง ผู้ช่วยเจ้าพนักงานโภชนาการ จํานวน 1 อัตรา

ได้รับค่าตอบแทนเดือนละ 11,500 บาท

คุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่ง ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางคหกรรมศาสตร์ อาหารและโภชนาการ หรือทางอื่นที่ ก.จ. รับรองว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งนี้ได้

10. ตําแหน่ง ผู้ช่วยเจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จํานวน 1 อัตรา

ได้รับค่าตอบแทนเดือนละ 11,500 บาท

คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ ทางวิศวกรรมเครื่องกลเทคนิควิศวกรรมโยธา เทคนิควิศวกรรมไฟฟ้า เทคนิคเครื่องเย็นและปรับอากาศ ทางช่างเครื่องยนต์ ช่างไฟฟ้า ช่างโยธา ช่างก่อสร้าง ช่างกลโรงงาน ช่างเชื่อมและโลหะแผ่น หรือทางอื่นที่ ก.จ.กําหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งนี้ได้

11. ตําแหน่ง ผู้ช่วยนายช่างโยธา จํานวน 3 อัตรา

ได้รับค่าตอบแทนเดือนละ 11,500 บาท

คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางเทคนิควิศวกรรมโยธาเทคนิควิศวกรรมสํารวจ เทคนิคสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรม ช่างก่อสร้าง ช่างสํารวจ ช่างโยธา ก่อสร้างหรือทางอื่นที่ ก.จ. กําหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตำแหน่งนี้ได้

12. ตําแหน่ง ผู้ช่วยนายช่างไฟฟ้า จํานวน 2 อัตรา

ได้รับค่าตอบแทนเดือนละ 11,500 บาท

คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางช่างไฟฟ้า ช่างเครื่องเย็นและปรับอากาศ ช่างอิเล็กทรอนิกส์หรือทางอื่นที่ ก.จ. กําหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งนี้ได้

13. ตําแหน่ง ผู้ช่วยนายช่างเขียนแบบ จํานวน 1 อัตรา

ได้รับค่าตอบแทนเดือนละ 11,500 บาท

คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้เทคนิควิศวกรรมโยธาช่างก่อสร้าง ก่อสร้าง ช่างโยธา ช่างเขียนแบบ สถาปัตยกรรม เทคนิคสถาปัตยกรรม หรือทางอื่นที่ ก.จ. กําหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งนี้ได้

14. ตําแหน่ง ผู้ช่วยช่างไฟฟ้า จํานวน 2 อัตรา

ได้รับค่าตอบแทนเดือนละ 9,400 บาท

คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางช่างไฟฟ้า ช่างอิเล็กทรอนิกส์หรือทางอื่นที่ ก.จ. กําหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งนี้ได้

15. ตำแหน่ง ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่ธุการ จำนวน 2 อัตรา

ได้รับค่าตอบแทนเดือนละ 9,400 บาท

คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทุกสาขาที่ ก.จ. รับรอง ซึ่งได้ศึกษาวิชาคอมพิวเตอร์มาไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต หรือผ่านกาฝึกอบรมทางด้านการใช้คอมพิวเตอร์จากสถาบันการศึกษาของรัฐหรือเอกชนที่ได้รับการรับรองจากทางราชการหรือหน่วยงานของรัฐที่มีระยะเวลาการฝึกอบรมไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมง

16. ตําแหน่ง ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี จํานวน 6 อัตรา

ได้รับค่าตอบแทนเดือนละ 9,400 บาท

คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางบัญชี พาณิชยการ เลขานุการบริหารธุรกิจ การจัดการทั่วไป (เฉพาะทางบริหารธุรกิจ และการจัดการทั่วไป ต้องมีการศึกษาวิชาบัญชีมาไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิจ) หรือทางอื่นที่ก.จ. กําหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งนี้

17. ตําแหน่ง พนักงานขับเครื่องจักรกลขนาดหนัก จํานวน 3 อัตรา

ได้รับค่าตอบแทนเดือนละ 15,000 บาท

คุณสมบัติเฉพาะตําแหน่ง จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในงานที่จะปฏิบัติไม่ต่ำกว่า 5 ปีสามารถพิสูจน์ให้เห็นถึงความมีทักษะในงานนั้นๆ โดยมีหนังสือรับรองการทํางานจากนายจ้างหรือหน่วยงาน ซึ่งระบุถึงลักษณะงานที่ได้ปฏิบัติ และได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์ชนิดที่ 2

18. ตําแหน่ง พนักงานขับเครื่องจักรกลขนาดกลาง จํานวน 1 อัตรา

ได้รับค่าตอบแทนเดือนละ 15,000 บาท

คุณสมบัติเฉพาะตําแหน่ง จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในงานที่จะปฏิบัติไม่ต่ำกว่า 5 ปีสามารถพิสูจน์ให้เห็นถึงความมีทักษะในงานนั้นๆ โดยมีหนังสือรับรองการทํางานจากนายจ้างหรือหน่วยงาน ซึ่งระบุถึงลักษณะงานที่ได้ปฏิบัติ และได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์ชนิดที่ 2

19. ตําแหน่ง พนักงานขับเครื่องจักรกลขนาดเบา จํานวน 1 อัตรา

ได้รับค่าตอบแทนเดือนละ 9,400 บาท

คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในงานที่จะปฏิบัติไม่ต่ำกว่า 5 ปีสามารถพิสูจน์ให้เห็นถึงความมีทักษะในงานนั้นๆ โดยมีหนังสือรับรองการทํางานจากนายจ้างหรือหน่วยงาน ซึ่งระบุถึงลักษณะงานที่ได้ปฏิบัติหรือมีการทดสอบทักษะเฉพาะบุคคลด้วยการทดลองปฏิบัติ และได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์ตามกฎหมาย และใบอนุญาตขับรถยนต์ตาม พ.ร.บ. ขนส่ง (ใบอนุญาตขับรถประเภทที่ 2)

20. ตำแหน่ง พนักงานขับรถยนต์ ปรับอากาศ จํานวน 2 อัตรา

ได้รับค่าตอบแทนเดือนละ 9,400 บาท

คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในงานที่จะปฏิบัติไม่ต่ำกว่า 5 ปี สามารถพิสูจน์ให้เห็นถึงความมีทักษะในงานนั้นๆ โดยมีหนังสือรับรองการทํางานจากนายจ้างหรือหน่วยงาน ซึ่งระบุถึงลักษณะงานที่ได้ปฏิบัติหรือมีการทดสอบทักษะเฉพาะบุคคลด้วยการทดลองปฏิบัติ และได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์ตามกฎหมาย และใบอนุญาตขับรถยนต์ตาม พ.ร.บ. ขนส่ง (ใบอนุญาตขับรถประเภทที่ 2)

21. ตำแหน่ง พนักงานขับรถยนต์ มินิบัส จํานวน 2 อัตรา

ได้รับค่าตอบแทนเดือนละ 9,400 บาท

คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในงานที่จะปฏิบัติไม่ต่ำกว่า 5 ปีสามารถพิสูจน์ให้เห็นถึงความมีทักษะในงานนั้นๆ โดยมีหนังสือรับรองการทํางานจากนายจ้างหรือหน่วยงาน ซึ่งระบุถึงลักษณะงานที่ได้ปฏิบัติหรือมีการทดสอบทักษะเฉพาะบุคคลด้วยการทดลองปฏิบัติ และได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์ตามกฎหมาย และใบอนุญาตขับรถยนต์ตาม พ.ร.บ. ขนส่ง (ใบอนุญาตขับรถประเภทที่ 2)

22. ตําแหน่ง พนักงานขับรถยนต์ จํานวน 10 อัตรา

ได้รับค่าตอบแทนเดือนละ 9,400 บาท

คุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่ง จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในงานที่จะปฏิบัติไม่ต่ำกว่า 5 ปี สามารถพิสูจน์ให้เห็นถึงความมีทักษะในงานนั้น ๆ โดยมีหนังสือรับรองการทํางานจากนายจ้างหรือหน่วยงานซึ่งระบุถึง ลักษณะงานที่ได้ปฏิบัติ และได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์ตามกฎหมาย

23. ตําแหน่ง ผู้ช่วยช่วยชีวิตคน จํานวน 2 อัตรา

ได้รับค่าตอบแทนเดือนละ 9,400 บาท

คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในงานที่ปฏิบัติ ไม่ต่ำกว่า 5 ปี จะต้องมีหนังสือรับรองจากหน่วยงาน หรือส่วนราชการ

1. ตําแหน่ง คนงาน จํานวน 1 อัตรา

ได้รับค่าตอบแทนเดือนละ 9,000 บาท

คุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่ง มีความสามารถเหมาะสมในการปฏิบัติงานในหน้าที่

2. ตําแหน่ง คนงานเกษตร จํานวน 2 อัตรา

ได้รับค่าตอบแทนเดือนละ 9,000 บาท

คุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่ง มีความรู้ทางเกษตรเบื้องต้น และมีความสามารถเหมาะสมในการปฏิบัติหน้าที่นี้เป็นอย่างดี

3. ตําแหน่ง คนงานประจํารถยนต์ปรับอากาศ จํานวน 1 อัตรา

ได้รับค่าตอบแทนเดือนละ 9,000 บาท

คุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่ง มีความสามารถเหมาะสมในการปฏิบัติงานในหน้าที่

4. ตําแหน่ง คนงานประจําสนามกีฬา จ.ระยอง จํานวน 4 อัตรา

ได้รับค่าตอบแทนเดือนละ 9,000 บาท

คุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่ง มีความสามารถเหมาะสมในการปฏิบัติงานในหน้าที่

5. ตําแหน่ง คนงานซ่อมแซมถนน จํานวน 12 อัตรา

ได้รับค่าตอบแทนเดือนละ 9,000 บาท

คุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่ง มีสภาพร่างกายแข็งแรง มีสุขภาพดีสามารถปฏิบัติงานได้

6. ตําแหน่ง นักการ จํานวน 12 อัตรา

ได้รับค่าตอบแทนเดือนละ 9,000 บาท

คุณสมบัติเฉพาะตําแหน่ง มีความรู้ความสามารถเหมาะสมในการปฏิบตัิหน้าที่ มีความรู้ทาง ช่างไม้ ช่างปูน ซ่อมแซมดูแล วัสดุครุภัณฑ์ได้

7. ตําแหน่ง ผู้ปฏิบัติหน้าที่ดูแลเด็กเล็ก จํานวน 11 อัตรา

ได้รับค่าตอบแทนเดือนละ 9,000 บาท

คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง ได้รับวุฒิ ม.3 หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้

วัน เวลา สถานที่ดําเนินการสรรหาและเลือกสรร

องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง จะประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการสรรหา และเลือกสรร วิธีการสรรหาและเลือกสรร หลักเกณฑ์การตัดสินและการขึ้นบัญชีผู้ผ่านการสรรหาและเลือกสรร วัน เวลา สถานที่ ดําเนินการสรรหาและเลือกสรร และระเบียบการสอบ ณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง และทางเว็บไซต์ www.rayong-pao.go.th โดยให้เป็นหน้าที่ของผู้สมัคร จะต้องไปตรวจดูด้วยตนเอง

วัน เวลา สถานที่รับสมัคร

ให้ผู้ประสงค์จะสมัคร ขอใบสมัครและยื่นใบสมัครได้ที่ตึกองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง (ชั้น 8) ตั้งแต่วันที่ 16 – 26 ธันวาคม 2557 ในวันและเวลาราชการ ทั้งนี้สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมทางโทรศัพท์ หมายเลข 0 3861 7430 ต่อ 711

เอกสารและหลักฐานที่ต้องนํามายื่นในวันสมัคร

  1. รูปถ่ายหน้าตรงไม่สวมหมวก และไม่สวมแว่นตาดํา ขนาด 1 นิ้ว (ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน)จํานวน 3 รูป
  2. สําเนาทะเบียนบ้าน จํานวน 1 ฉบับ
  3. หลักฐานเกี่ยวกับการเกณฑ์ทหาร จํานวน 1 ฉบับ
  4. สําเนาบัตรประจําตัวประชาชน จํานวน 1 ฉบับ
  5. ใบรับรองแพทย์ที่แสดงว่าไม่เป็นโรคต้องห้ามตามที่คณะกรรมการกลางข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดกําหนด ออกให้ไม่เกิน 1 เดือนนับถึงวันรับสมัคร (ฉบับจริง)
  6. สําเนาใบแสดงคุณวุฒิการศึกษา จํานวน 1 ฉบับ พร้อมต้นฉบับ
  7. สําเนาใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถตาม พ.ร.บ. ขนส่ง จํานวน 1 ฉบับ พร้อมต้นฉบับ(สําหรับตําแหน่งตามข้อ ก.17 – ก.21 เป็นใบอนุญาตขับรถชนิดที่ 2 ขึ้นไป สําหรับตําแหน่งตามข้อ ก.22 เป็นใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถประเภทส่วนบุคคล โดยตําแหน่งตามข้อ ก.17 – ก.22 ต้องมีหนังสือรับรองการผ่านงานจากหน่วยงานหรือส่วนราชการ ซึ่งต้องมีทักษะในตําแหน่งงานที่สมัคร ไม่ต่ํากว่า 5 ปี)
  8. หลักฐานอื่นๆ เช่น สําเนาใบเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล สําเนาทะเบียนสมรสจํานวน 1 ฉบับ พร้อมต้นฉบับ เอกสารต้นฉบับที่นํามายื่นในการสมัคร เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจถูกต้องกับสําเนาแล้ว จะคืนต้นฉบับให้ในวันรับสมัครนั้น

รายละเอียด

UTQ-02110 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับผู้สอนระดับประถมศึกษา

เฉลย UTQplus - ครูระยอง

Print Friendly

02110 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับผู้สอนระดับประถมศึกษา ผ่านแล้ว ได้ 15 คะแนน

  • ข้อใดเป็นผลการเรียนรู้ภาษาไทยที่มีคุณภาพสูงที่สุดและเชื่อถือได้
    – อ่านออก เขียนถูก รู้ความหมาย ใช้เป็น
  • ระดับความสามารถในการอ่านของผู้เรียนขั้นใดที่ผู้อ่านรับคุณค่าของการอ่านได้ทันที
    – อ่านรู้เรื่องเข้าใจเรื่องที่อ่าน
  • ข้อใดเป็นกระบวนการใช้ทักษะการคิดขั้นวิเคราะห์
    – อ่านข่าวแล้วสนทนาวิพากษ์วิจารณ์ข่าว
  • ข้อใดเป็นคุณค่าของการรวบรวมข้อคิดคำคมจากวรรณคดีวรรณกรรม
    – รับการถ่ายทอดค่านิยมและประเพณี
  • ลักษณะสำคัญของการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาพหุปัญญาของผู้เรียน สอดคล้องกับข้อใด
    – จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นส่งเสริมข้อบกพร่องของผู้เรียน
  • การใช้หนังสือแบบเรียนและแบบฝึกหัดสำเร็จรูปเพียงอย่างเดียว ส่งผลเสียต่อคุณภาพของผู้เรียนด้านใดมากที่สุด
    – ไม่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีอิสระทางความคิด
  • ข้อใดเป็นการจัดบทเรียนบูรณาการแบบคู่ขนาน
    – ครูร่วมกันวางแผนสอนเรื่องเดียวกัน แล้วต่างจัดกิจกรรมในวิชาที่ตนสอน
  • ข้อใดเป็นปัญหาของทักษะภาษาไทยที่ส่งผลต่อคะแนนผลสอบ O-Net มากที่สุด
    – ความสามารถในการอ่านตีความ
  • การจัดการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนด้านการอ่านคิดวิเคราะห์ คือข้อใด
    – การอ่านเพื่อค้นหาสาระสำคัญและการสรุปเรื่องที่อ่าน
  • การตรวจสอบคุณภาพของผู้เรียนเกิดจากกระบวนการในขั้นใด
    – ขั้นที่ครูจัดกิจกรรมและสะท้อนผลให้ผู้เรียนได้ทำหลายๆแบบ
  • ครูคนใดที่จัดการเรียนการสอนได้สอดคล้องกับความแตกต่างระหว่างบุคคลมากที่สุด
    – ให้ผู้เรียนเลือกทำกิจกรรมที่สอดคล้องกับบทเรียนตามความสนใจ
  • ข้อใดเป็น “กระบวนการเรียนรู้” ที่พัฒนาผู้เรียนด้านทักษะการคิดมากที่สุด
    – อ่านเรื่อง คิดวิเคราะห์ สรุปเรื่อง ค้นหาข้อคิดและสำนวนภาษาที่น่าสนใจ
  • ข้อใดเป็นเหตุผลแสดงความอ่อนด้อยสมรรถนะของบุคคลด้านการแก้ปัญหามากที่สุด”
    – กินยาที่หมอพระผลิต / ยาผีบอกเพื่อรักษาโรค
  • การช่วยผู้เรียนให้ประสบผลสำเร็จในการเรียนได้มากที่สุด ข้อใดที่ครูส่วนใหญ่ละเลย
    – ครูวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคลและนำผลมาออกแบบการเรียนรู้
  • กิจกรรมใดที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะภาษาและกระบวนการกลุ่มได้มากที่สุด
    – การแสดงละครหรือเล่นบทบาทสมมติ
  • ผลของการอ่านขั้นใดที่แสดงให้เห็นว่าผู้อ่านเข้าใจเรื่องที่อ่าน
    – สื่อความหมายรหัสภาษาและแสดงอาการตอบโต้
  • อะไรคือปัญหาที่ทำให้เด็กไทยไม่ชอบเขียนเรียงความ
    – ไม่มีข้อมูลในการเขียน
  • ตัวชี้วัดในการเขียนข้อใดเป็นตัวชี้วัดในระดับชั้นเรียนที่ต่ำที่สุด
    – เขียนสื่อสาร
  • ครูให้นักเรียนหาคำมาต่อจากคำว่า “กระ” เช่นกระจาด กระท้อน กระต่าย ฯลฯ แล้วทำกิจกรรมสำรวจว่าใครมีคำที่ไม่ซ้ำกับคนอื่นมากที่สุด ครูกำลังฝึกทักษะการคิดด้านใดให้กับผู้เรียน
    – คิดคล่อง
  • 20. ถ้าผลการประเมินผลความสามารถของผู้เรียนในการอ่านคิดวิเคราะห์เขียนสูง สะท้อนให้เห็นสภาพของสถานศึกษาว่าน่าจะมีสิ่งใดมากที่สุด
    – มีการสอดแทรกทักษะการอ่านคิดเขียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้

ที่มา : โอตะคุ น่ารักดี

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

UTQ-02108 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับผู้สอนระดับประถมศึกษา

เฉลย UTQplus - ครูระยอง

Print Friendly

UTQ-02108 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับผู้สอนระดับประถมศึกษา 17/20

  • ข้อใดใช้หลักการ Repetition ในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
    – They put on the shirt. They put on the skirt.They put on the shorts.
  • ข้อใดเป็นความหมายของการจัดกิจกรรมในขั้น Production
    – ครูให้ผู้เรียนใช้ภาษาที่ฝึกมาบ้างแล้ว ผู้เรียนจะมีโอกาสใช้ภาษามากขึ้น
  • ข้อใดเป็น “ชิ้นงาน”
    – หุ่นจำลอง
  • ข้อใดคือกิจกรรม TPR
    – เป็นกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการฟัง (Listening Skill)
  • ข้อใดคือความหมายของ เกณฑ์การประเมินแบบ Analytic Rubric
    – แนวทางการให้คะแนน โดยพิจารณาจากแต่ละส่วนของงาน
  • กิจกรรมนำสู่การเรียน(Introduction Activity) ควรอยู่ในแผนการเรียนรู้ในข้อใด
    – ไม่จำเป็น
  • ข้อใดเป็นความหมายของการจัดกิจกรรมในขั้น Presentation
    – ครูเสนอเนื้อหาภาษาให้ผู้เรียนเข้าใจรูปแบบและความหมาย
  • ข้อใดไม่ใช่ข้อควรคำนึงในการใช้เกมทางภาษาอังกฤษมาใช้ในชั้นเรียน
    – สนุกสนานมากกว่าการนำภาษาไปใช้
  • ข้อใดใช้หลักการ Rhythm ในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
    – He writes in his book. And he cook some fish. He writes in his book. And he cook some pork. He writes in his book. And he cook some chicken
  • ข้อใดเป็นความหมายของการจัดกิจกรรมในขั้น Practice
    – ครูให้ผู้เรียนฝึกภาษาที่สอนไปแล้ว เป็นกิจกรรมที่ครูเป็นผู้ให้แนวทางหรือควบคุมอยู่
  • ข้อใดคือความหมายของ เกณฑ์การประเมินแบบ Holistic Rubric
    – แนวทางการให้คะแนน โดยพิจารณาจากภาพรวมของชิ้นงานหรือภาระงาน
  • กิจกรรมรวบยอด (Calumniating Activities) ควรอยู่ในแผนการเรียนรู้ในข้อใด
    – แผนที่ 8-10 ของหน่วยการเรียน
  • ข้อใดไม่ใช่หลักการนำกิจกรรมภาษาอังกฤษมาใช้ในชั้นเรียน
    – ผู้สอนจำเป็นต้องใช้กิจกรรมเพื่อประกอบการสอนทุกคาบการสอน
  • กิจกรรมที่ช่วยพัฒนาผู้เรียน(Enabling Activities) ควรอยู่ในแผนการเรียนรู้ในข้อใด
    – แผนที่ 5 – 7 ของหน่วยการเรียน
  • ข้อใดเป็น “ภาระงาน”
    – การแสดงบทบาทสมมติ
  • ข้อใดเป็นแนวคิดในการสอนภาษาอังกฤษของกลุ่ม Behaviorist
    – ผู้เรียนจะเรียนรู้และจดจำภาษาได้ดีนั้นต้องฝึกการใช้ภาษาให้เป็นนิสัย
  • การจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามแนวธรรมชาติหมายถึงข้อใด
    – ครูร้องเพลงให้นักเรียนฝึกร้องตามก่อนจึงฝึกอ่านเนื้อเพลง
  • ข้อใดเป็นแนวคิดในการสอนภาษาอังกฤษของกลุ่ม Cognitivism
    – การเรียนรู้ภาษานั้นผู้เรียนต้องได้ฝึกการใช้ความคิดและสติปัญญาควบคู่ไปด้วย
  • แนวคิดใดมาจากทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม
    – การกระทำของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก
  • แนวคิดใดมาจากทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม
    – กลุ่มนี้เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิดกับการฝึก

ที่มา : โอตะคุ น่ารักดี

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

UTQ-02105 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับผู้สอนระดับประถมศึกษา

เฉลย UTQplus - ครูระยอง

Print Friendly

UTQ-02105 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับผู้สอนระดับประถมศึกษา

  • บทบาทคุณครูในการส่งเสริมให้นักเรียนสำรวจค้นหาวิธีการแก้ปัญหา/เสนอแนวทาง แก้ปัญหาด้วยตนเองโดยตั้งคำถาม เพื่อนำไปสู่การคิดวิเคราะห์จาสื่อรูปธรรม/กึ่งรูปธรรมตรงกับรูปแบบการ จัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบใด
    – รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (5Es)
  • เครื่องมือวัดผลทางคณิตศาสตร์ในข้อใดไม่จำเป็นต้องมีเกณฑ์แบบรูบริค
    – ข้อสอบแบบเลือกตอบ
  • องค์ประกอบที่จะช่วยให้นักเรียนมีความพร้อมในการเรียนรู้การบวกคือข้อใด
    – ประสบการณ์ และวุฒิภาวะ
  • ตัวชี้วัดชั้นปี เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนในระดับใด
    – ระดับการศึกษาภาคบังคับ
  • ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของโครงสร้างรายวิชา
    – ชิ้นงาน
  • แนวทางการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ต่อไปนี้ข้อใดถูกต้องที่สุด
    – ควรเน้นให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์
  • ใช้สถานการณ์ต่อไปนี้ตอบคำถาม ครูมนัสกำหนดเกณฑ์การให้คะแนนผลงานของนักเรียน เรื่องแผนผังและมาตราส่วน ดังนี้
    1. มีแผนผังแสดงรายละเอียดครบถ้วน แต่มาตราส่วนไม่ถูกต้อง
    2. มีแผนผังแสดงรายละเอียดไม่ครบถ้วน แต่ใช้มาตราส่วนถูกต้อง
    3. มีแผนผังแสดงรายละเอียดได้ครบถ้วน และใช้มาตราส่วนถูกต้อง
    4. มีแผนผังแสดงรายละเอียดไม่ครบถ้วน และมาตราส่วนไม่ถูกต้อง
    ข้อใดเรียงลำดับคุณภาพของผลงานจากระดับสูงสุดลงมาถึงระดับต่ำสุดได้เหมาะสม
    – 3, 1, 4, 2
  • ข้อใดสำคัญที่สุดเกี่ยวกับการประเมินผลก่อนเรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551
    – เพื่อวิเคราะห์ว่าผู้เรียนรู้อะไรมาก่อนบ้างเกี่ยวกับสิ่งที่จะเรียนและสิ่งที่รู้มาก่อนนี้ถูกต้องหรือไม่
  • บทบาทคุณครูในการส่งเสริมให้นักเรียนสำรวจค้นหาวิธีการแก้ปัญหา/เสนอแนวทาง แก้ปัญหาด้วยตนเองโดยตั้งคำถาม เพื่อนำไปสู่การคิดวิเคราะห์จากสื่อรูปธรรม/กึ่งรูปธรรมตรงกับรูปแบบการ จัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบใด
    – รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (5Es)
  • ข้อใดเป็นจำนวนนับทั้งหมด
    – 12, 1, 3, 5, 9
  • ข้อใดกล่าว ไม่ถูกต้อง เกี่ยวกับการให้คะแนนโดยใช้เกณฑ์แบบรูบริคในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์
    – การให้คะแนนแบบวิเคราะห์มักนำมาใช้ในการประเมินผลเพื่อตัดสินหรือสรุปผล การเรียนของนักเรียน
  • ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้นั้นควรคำนึงถึงสิ่งใดเป็นลำดับแรก
    – สาระการเรียนรู้
  • ถ้าครูต้องการฝึกให้ผู้เรียนเผชิญปัญหา วิเคราะห์ และสังเคราะห์ และ หาแนวทางแก้ปัญหาด้วยตนเอง ควรใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบใด
    – รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดทฤษฏีคอนสตรัคติวิสต์
  • การจัดการเรียนรู้การบวก ควรมีลำดับขั้นต่อไปนี้
    – การเตรียมความพร้อมการเรียนรู้การบวก ความหมายของการบวก การบวกเบื้องต้น สมบัติการบวก ความพร้อมของการเรียนรู้กรรมวิธีการบวก กรรมวิธีการบวก
  • แนวทางการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่ให้ผู้เรียนฝึกเขียนสถานการณ์ปัญหา อย่างสม่ำเสมอ มีประโยชน์ต่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์อย่างไร ให้พิจารณาจากข้อความที่กำหนดให้ต่อไปนี้
    1. ทำให้ครูทราบพื้นฐานของผู้เรียน
    2. ช่วยให้ผู้เรียนสนใจการแก้ปัญหา
    3. ช่วยให้ผู้เรียนคุ้นเคยกับสถานการณ์ปัญหา
    4. ฝึกการเขียน/ทำความเข้าใจภาษา
    – 1 2 3
  • จากหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน แบ่งเป็น 3 ลักษณะ มีอะไรบ้าง
    – กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมนักเรียน กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
  • บทบาทของผู้สอนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ผู้สอนต้องดำเนินการขั้นตอนใดเป็นอันดับแรก
    – ศึกษาวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล
  • การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์จำเป็นต้องใช้สื่อการเรียนรู้ประกอบ ท่านมีแนวคิดในการเลือกใช้สื่อการเรียนรู้อย่างไร
    – หาได้ง่ายในท้องถิ่น/สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้
  • หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กำหนดให้รายวิชาพื้นฐานต้องใช้ตัวชี้วัด กำหนดคุณภาพของผู้เรียน และกำหนดให้รายวิชเพิ่มเติมต้องใช้อะไรกำหนดคุณภาพของผู้เรียน
    – ผลการเรียนรู้
  • จากการศึกษารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในใบความรู้ ข้อใดคือจุดเน้นที่แตกต่างกัน
    – เน้นทักษะกระบวนการคิด การอภิปราย การให้เหตุผล

ที่มา : โอตะคุ น่ารักดี

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

สั่งสมศ.ปรับบทเป็น”ให้ไม้เรียวและดอกไม้” ยงยุทธแย้มคงต้องแก้พรบ.เพื่อเรียกศรัทธาองค์กรประเมินกลับคืน

Print Friendly

“ยงยุทธ” เผยอาจต้องแก้ พ.ร.บ.สมศ.ปรับบทบาทจากผู้ประเมินเหมาเข่ง เป็นเลือกสุ่มประเมินและให้ใบรับรองสถานศึกษาแทน เปรียบเปรยต้องทำสองอย่างเวลาเดียวกันทั้งให้ไม้เรียวและดอกไม้ ชี้จุดอ่อน สมศ.ที่ผ่านมา ตัวชี้วัดยุ่บยั่บเกินไป แต่ประเมินได้เพียงปริมาณ ไม่ใช่ประสิทธิภาพ เข้าไม่ถึงการชี้วัดคุณภาพที่แท้จริง

วันที่ 8 ธันวาคม ที่ไบเทค บางนา สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) จัดประชุมวิชาการนานาชาติ เรื่องการประกันคุณภาพการศึกษา ประจำปี พ.ศ.2557

โดยมีนายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดการประชุม พร้อมด้วย พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) และผู้อำนวยการผู้บริหาร สมศ. ทั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรีได้กล่าวปาฐกถาพิเศษ ภายใต้หัวข้อ “การตรวจสอบคุณภาพสถานศึกษา” มีใจความตอนหนึ่งว่า สมศ.มีบทบาทหน้าที่ในการประเมินและรับรองคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาทุกระดับ แต่ผลงานของ สมศ.ในรอบ 15 ปีที่ผ่านมา สมศ.เน้นการประเมินเป็นหลัก ไม่ค่อยมีการทำงานด้านการรับรอง และตนคิดว่าการประกันคุณภาพควรจะมีในทุกช่วงวงจรการผลิต หรือ PDCA คือเริ่มประเมินตั้งแต่แผนการปฏิบัติงาน (Plan) การลงมือทำ (Do) ทำการประเมินด้วยตนเอง (สถานศึกษา) และผู้ที่เกี่ยวข้อง (ผู้ปกครอง) (Check) และสุดท้ายเมื่อพบปัญหาอุปสรรคควรแก้ไข (Act)

นายยงยุทธกล่าวต่อว่า ถึงแม้ สมศ.จะมีความสำเร็จบ้าง แต่ก็ยังคงมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆ เนื่องจาก พ.ร.บ.ปี 2549 กำหนดให้ สมศ.ต้องประเมินทุกสถานศึกษา และในปัจจุบันสถานศึกษามีเพิ่มขึ้นจำนวนมาก การดำเนินการจึงทำได้ยาก ซึ่งอาจจะมีการปรับแก้ พ.ร.บ.ฉบับนี้ เช่น เปลี่ยนการประเมินไม่จำเป็นต้องทำทุกสถานศึกษา อาจจะใช้การสุ่มตรวจ เป็นต้น และการประเมินของ สมศ.ยังมีตัวชี้วัดที่มากเกินไป วัดเชิงปริมาณมากกว่าประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทั้งนี้ คิดว่า สมศ.ควรจะเพิ่มเรื่องการรับรองสถานศึกษาเพิ่มมากขึ้นจากที่ทำอยู่ในปัจจุบัน และรองรับให้แก่สถานศึกษาที่สมัครใจ การกระทำเช่นนี้อาจจะทำให้ สมศ.ก้าวมาเป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับด้านการวัดมาตรฐานด้านการศึกษา

“ผมอยากถามว่าต่อไป สมศ.ควรมีบทบาทอย่างไร จะเป็นผู้ถือไม้เรียวหรือให้ช่อดอกไม้ หรือทำทั้งสองอย่าง เพราะที่ผ่านมา สมศ.เหมือนผู้ถือไม้เรียว เข้าไปตรวจข้อสอบขณะที่ผู้ที่จะถูกตรวจสอบยังไม่ได้รับการฝึกฝนอย่างเพียงพอ สมศ.จึงต้องปรับบทบาทเข้าไปช่วยเหลือสถานศึกษาด้วย และต้องเริ่มปรับบทบาทใหม่โดยการรับรองสถานศึกษาโดยความสมัครใจของสถานศึกษา” นายยงยุทธกล่าว และว่า อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดเป็นเพียงข้อเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาต่อไป

ด้าน พล.ร.อ.ณรงค์กล่าวว่า ตนอยากให้ สมศ.กำหนดมาตรฐานเกณฑ์การประเมินสถานศึกษาที่ความน่าเชื่อถือและควรเป็นมาตรฐานสากล แต่ต้องสอดคล้องกับบริบทความเป็นไทยและท้องถิ่น โดยต้องไม่เป็นการเพิ่มภาระงานเกินความจำเป็น หรือส่งผลกระทบต่อการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา อีกทั้ง สมศ.ควรสร้างกลไกในการเผยแพร่ข้อมูลความรู้ ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการประเมินคุณภาพการศึกษา และต้องสร้างมาตรฐานของผู้ประเมินที่ชัดเจนและมีความเป็นมืออาชีพ เนื่องจากที่ผ่านมามีเสียงสะท้อนว่าผู้ประเมินไม่มีคุณภาพ

“ผมอยากเห็นการประเมินของ สมศ.เป็นสิ่งที่สถานศึกษาอ้าแขนรับ อยากให้ สมศ.เข้าไปประเมินว่า ประเมินแล้วสถานศึกษาได้รับความรู้ ได้เห็นจุดอ่อนหรือจุดบกพร่องเพื่อนำไปแก้ไข ไม่อยากเห็นสถานศึกษาต่อต้านการประเมินของ สมศ. ซึ่งอยากให้ สมศ.นำเรื่องนี้ไปคิดได้แล้ว สำหรับการประเมินภายนอกสถานศึกษารอบ 4 เริ่มประเมิน 1 ตุลาคม 2558 (ประจำปีงบประมาณ 2559-2563) อยากให้ สมศ.รอทิศทางที่ชัดเจนจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ก่อน เพื่อจะได้แนวทางการประเมินภายนอกสถานศึกษาที่ถูกต้อง เพราะไม่อยากให้ สมศ.ทำไปก่อน เดี๋ยวจะเพี้ยนไปจากเดิมเช่นที่ผ่านมา และขอให้ไปคิดด้วยว่าจะทำอย่างไรให้สถานศึกษาเตรียมการรองรับการประเมินเพื่อให้ผลการประเมินออกมาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ” รมว.

ที่มา : ไทยโพสต์

ครูไทยถูกดึงออกห้องเรียนเกือบครึ่งปีการศึกษา

ปฏิรูป นโยบายของการศึกษาไทย

Print Friendly

ที่สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพชีวิตเยาวชน (สสค.) ได้มีการแถลงข่าวคลี่ตารางชีวิตครูไทยใน 1 ปี เสียงสะท้อนจากครูที่นักปฏิรูปต้องฟัง โดย ดร.ไกรยศ ภัทรวาท ผู้เชี่ยวชาญนโยบายด้านเศรษฐศาสตร์การศึกษา สสค. กล่าวว่า จากการวิจัยเรื่อง กิจกรรมภายนอกชั้นเรียนที่กระทบต่อการจัดการเรียนการสอนของครู โดยการสัมภาษณ์ครูที่ได้รับรางวัล “ครูสอนดี” จาก สสค. ทั่วประเทศ 427 คน ระหว่างวันที่ 15 ก.ย.-15 ต.ค.2557 พบว่า ใน 1 ปี มีจำนวนวันเปิดเรียน 200 วัน หรือ 1 ปีการศึกษา ซึ่งครูต้องใช้เวลากับกิจกรรมภายนอกชั้นเรียน ที่ไม่ใช่การจัดการเรียนการสอนถึง 84 วัน คิดเป็น 42% โดยกิจกรรมนอกชั้นเรียนที่ครูต้องใช้เวลามากที่สุด 3 อันดับแรกคือ การประเมินของหน่วยงานภายนอก 43 วันต่อปี การจัดแข่งขันทางวิชาการ 29 วัน และการอบรมที่จัดโดยหน่วยงานภายนอก 10 วัน ทั้งนี้หน่วยงานประเมินที่อยากให้ปรับปรุงมากที่สุดคือ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) 98% ส่วนหน่วยงานต้นสังกัดที่อยากให้ปรับปรุงมากที่สุดคือ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) 52.63% และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) 38.30% นอกจากนี้ครูมากกว่า 90% เห็นว่าโรงเรียนต้องมีอิสระในการบริหารจัดการทุกด้าน และควรคืนครูสู่ห้องเรียน ตลอดจนลดภาระงานของครูที่ไม่มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก

ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ตัวเลข 42% ที่ครูใช้เวลากับกิจกรรมภายนอกชั้นเรียนเป็นสิ่งที่น่าตกใจมาก เพราะผลการวิจัยขององค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกาในปี 2555 ที่ได้ศึกษาเวลาของครูที่ใช้ในห้องเรียน พบว่า เมื่อครูถูกดึงออกนอกห้องเรียนที่ไม่เกี่ยวกับการสอนไป 20-30% จะมีผลต่อการเรียนรู้ของเด็กอย่างมาก ดังนั้นจึงไม่แปลกใจเลยว่าเหตุใดคุณภาพการศึกษาของไทยจึงไม่ดีขึ้น ยิ่งปัจจุบันมีนโยบายว่าทุกโรงเรียนต้องทำคะแนนแบบทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือโอเน็ต ของเด็กให้สูงขึ้น ยิ่งทำให้ครูไม่ต้องสอนหนังสือ เพราะไปติวแต่โอเน็ต ทำให้การคิดวิเคราะห์ของเด็กทุกวันนี้เป็นของปลอม ไม่ได้เกิดจากการเรียนรู้ แต่เกิดจากการติว ซึ่งอันตรายมาก ส่วนเสียงสะท้อนที่ต้องการให้ลดภาระงานของครูลงนั้น ตนได้ยินมาแล้วไม่ต่ำกว่า 10 ปี แต่ปัจจุบันยังเหมือนเดิม ไม่มีการตัดสินใจในเชิงนโยบายของคนข้างบน ดังนั้นในเมื่อเวลานี้กำลังมีการปฏิรูปการศึกษา และต้องการจะหาของขวัญมอบให้ครู ก็ควรลดภาระงานเอกสาร และยุบ สมศ. ลง เชื่อว่าครูจะมีความสุขกับการสอนอย่างแน่นอน

ด้าน ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ กล่าวว่า การศึกษาไทยยังขาดข้อมูลอีกเยอะ ที่ผ่านมาการวางแผนจึงอยู่บนความเห็นเป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้ตนมองว่าปัญหาการศึกษาทุกวันนี้เกิดจากการผูกติดอยู่กับระบบความดีความชอบ และการประเมินวิทยฐานะ ดังนั้นควรมีการรื้อ และแก้กฎหมายต่างๆ เกี่ยวกับการพิจารณาความดีความชอบ และการประเมินวิทยฐานะของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) รวมถึงการโยกย้าย และบรรจุแต่งตั้งของคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) เขตพื้นที่ เพราะปัจจุบันมีปัญหาการเรียกรับเงินกันมาก ซึ่งน่าแปลกใจว่า อ.ก.ค.ศ. ได้เบี้ยประชุมไม่กี่ร้อยบาท แต่ทำไมคนจึงแย่งกันทำหน้าที่นี้ ซึ่งถือเป็นเรื่องใหญ่ที่เปิดช่องให้คนไม่ดีมาเรียกร้องประโยชน์จากครู นอกจากนี้ตนอยากให้ สมศ. ชะลอการประเมินคุณภายภายนอกรอบสี่ และทบทวนสิ่งที่เป็นปัญหาให้ได้ก่อน ได้แก่ มาตรฐานตัวชี้วัด มาตรฐานผู้ประเมิน และภาระงานเอกสาร เพราะหากยังแก้ไม่ได้การประเมินฯรอบสี่ก็ไร้ความหมาย และเป็นปัญหาแน่

นายอาคม สมพามา ตัวแทนครูสอนดี โรงเรียนสายธรรมจันทร์ จังหวัดราชบุรี กล่าวว่า อยากให้ทบทวนวิธีการสอบโอเน็ตใหม่ เพราะถ้าวัดด้วยคำถามแบบปรนัย โดยใช้ข้อสอบชุดเดียวกันทั้งประเทศ และบอกว่าผลสัมฤทธิ์ของเด็กต่ำ ตนคิดว่าไม่ยุติธรรม เพราะเราไม่ได้วัดในสิ่งที่เด็กใช้ และไม่สอดคล้องกับบริบทของนักเรียนที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ทุกวันนี้โรงเรียนยังถูกฉกฉวยผลประโยชน์จากกระทรวงต่างๆ โดยใช้เด็กเป็นเครื่องมือ และให้ครูเป็นผู้สร้างเครื่องมือ เพื่อสร้างผลงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ของหน่วยงานตนเอง ทุกวันนี้ครูจึงต้องทำหลายหน้าที่ ทั้งสอน เป็นที่ปรึกษาเด็ก เยี่ยมบ้านเด็ก และทำงานธุรการ ซึ่งรู้สึกไม่ยุติธรรมกับครู จึงอยากให้แก้ไขปัญหาเหล่านี้อย่างเร่งด่วน.

ที่มา : เดลินิวส์

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

คณะรัฐมนตรีมีมติปรับค่าตอบแทนพนักงานราชการ

ครูระยอง - เงินเดือน

Print Friendly

ณ ทำเนียบรัฐบาล ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานฯ ร้อยเอก ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยพลตรี สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ชี้แจงเกี่ยวกับเรื่องการปรับค่าตอบแทนพนักงานราชการ สรุปสาระสำคัญ ดังนี้

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ สำนักงาน กพ. เสนอ ดังนี้

  1. การปรับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว ให้พนักงานราชการที่ได้รับการจ้างวุฒิการศึกษา
    ระดับต่ำกว่าปริญญาตรี ที่มีค่าตอบแทนไม่ถึง 13,285 บาท ให้ได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเดือนละ 2,000 บาท แต่เมื่อรวมกับค่าตอบแทนแล้ว ต้องไม่เกินเดือนละ 13,285 บาท และกรณีที่รวมกันแล้ว
    มีค่าตอบแทนไม่ถึง 10,000 บาท ให้ได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเพิ่มขึ้นจากค่าตอบแทนอีกจนถึง เดือนละ 10,000 บาท โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2557
  2. ให้พนักงานราชการกลุ่มงานบริการ กลุ่มงานเทคนิคทั่วไป กลุ่มงานบริหารทั่วไป และกลุ่มงานวิชาชีพเฉพาะ ได้รับค่าตอบแทนเพิ่มร้อยละ 4 โดยให้มีผลใช้บังคับ 1 ธันวาคม 2557
  3. ปรับเพดานบัญชีค่าตอบแทนขั้นสูง กลุ่มงานบริการ กลุ่มงานเทคนิคทั่วไป กลุ่มงานบริหารทั่วไป และกลุ่มงานวิชาชีพเฉพาะ ร้อยละ 4 และให้มีผลใช้บังคับวันเดียวกับการปรับเพิ่มเพดานเงินเดือนขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ

สาระสำคัญของเรื่อง

เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายรัฐบาล และแนวทางการยกระดับรายได้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐชั้นผู้น้อยโดยรวมตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้พิจารณาเห็นชอบ และหลักการกำหนดค่าตอบแทนของพนักงานราชการ ฝ่ายเลขานุการจึงได้เสนอแนวทางดำเนินการ ดังนี้

  • วัตถุประสงค์ เพื่อปรับรายได้ของพนักงานราชการให้มีรายได้ที่เพียงพอต่อการดำรงเกียรติ ศักดิ์ศรี เพื่อจะได้ปฏิบัติตนและอุทิศตัวเพื่อประโยชน์สุขของสังคม
  • หลักการ การปรับเพิ่มรายได้ของพนักงานราชการ ควรสอดคล้องกับภาวการณ์ครองชีพที่เพิ่มขึ้น โดยไม่สร้างภาระงบประมาณมากจนเกินควร และคำนึงถึงผลกระทบต่อต้นทุนการจ้างงานภาคเอกชน
  • แนวทางดำเนินการ
  1. ปรับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว ให้พนักงานราชการที่ได้รับการจ้างวุฒิการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรี ที่มีค่าตอบแทนไม่ถึง 13,285 บาท ให้ได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเดือนละ 2,000 บาท แต่เมื่อรวมกับค่าตอบแทนแล้ว ต้องไม่เกินเดือนละ 13,285 บาท และกรณีที่ รวมกันแล้ว มีค่าตอบแทนไม่ถึง 10,000 บาท ให้ได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเพิ่มขึ้นจากค่าตอบแทนอีกจนถึงเดือนละ 10,000 บาท ประมาณการพนักงานราชการที่จะได้รับการเงินเพิ่มดังกล่าว จำนวน 35,500 คน โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2557
  2. ปรับบัญชีค่าตอบแทน
    1. พนักงานราชการกลุ่มงานบริการ กลุ่มงานเทคนิคทั่วไป กลุ่มงานบริหารทั่วไป และกลุ่มงานวิชาชีพเฉพาะ จะได้รับค่าตอบแทนเพิ่มร้อยละ 4 โดยให้มีผลใช้บังคับ 1 ธันวาคม 2557 โดยเทียบเคียงกับข้าราชการประเภทวิชาการระดับตำแหน่งไม่เกินระดับชำนาญการ ประมาณการพนักงานราชการที่จะได้รับค่าตอบแทนเพิ่ม จำนวน 126,200 คน
    2. ปรับเพดานบัญชีค่าตอบแทนขั้นสูง กลุ่มงานบริการ กลุ่มงานเทคนิคทั่วไปกลุ่มงานบริหารทั่วไป และกลุ่มงานวิชาชีพเฉพาะ อีกร้อยละ 4 เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับค่าตอบแทนของพนักงานราชการ เช่นเดียวกับการปรับบัญชีค่าตอบแทนของพนักงานราชการทุกครั้งที่ผ่านมา ทั้งนี้ ให้มีผลใช้บังคับวันเดียวกับการปรับเพิ่มเพดานเงินเดือนขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ
    3. แก้ไขประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ เรื่อง ค่าตอบแทนพนักงานราชการ (ฉบับที่..) พ.ศ. …. เพื่อปรับปรุงบัญชีกำหนดอัตราค่าตอบแทนของพนักงานราชการ

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

Our partners from Mexico:
Productos de salud
Carlos Torre